กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลัง ชุมชนป้องกันโรค บ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5303-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะ
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 22,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอสม.บ้านปาเต๊ะ โดยนายยงยุทธ เนาวราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 22,500.00
รวมงบประมาณ 22,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 470 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขที่มีผลต่อประชาชน หากมีการระบาดรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไข้เลือดออก ที่เป็นปัญหาการระบาดทุกปี และมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านปาเต๊ะ มีจำนวนผู้ป่วยในทุกปี และมีแนวโน้มระบาดต่อเนื่อง มาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครในเครือข่ายต่างๆ ช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุด คือ การรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ขยะ มูลสัตว์ น้ำโสโครกที่ทำให้เกิดโรคกับประชาชนในชุมชนได้ ซึ่งจะพบว่าในครัวเรือนมีการกำจัดขยะไม่เหมาะสม ไม่ปิดถังขยะให้มิดชิด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ในบริเวณบ้านและถนนบางสายที่ใช้สัญจรในหมู่บ้าน มีสุนัขหรือแมวกัดกินอาหารและขยะตามถังเก็บขยะที่ตั้งอยู่หน้าบ้าน หากไม่รีบดำเนินการจัดการปัญหาดังกล่าว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงต่อประชาชนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะนำโรคไข้เลือดออกในชุมชนและการปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด-19

ข้อที่ 1  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของพาหะโรคไข้เลือดออกในชุมชนและการปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด-19 ร้อยละ 80

2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชน

ข้อที่ 2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

3 ข้อที่ 3 ดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI CI ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

ข้อที่ 3 ดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI CI ไม่เกิน10

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 22,500.00 1 22,500.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. คืนข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชน และร่วมกันสำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการ เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ 0 0.00 -
1 ม.ค. 65 - 12 ธ.ค. 64 2. ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพของหน่วยบริการ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3กิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่อสม.และแกนนำในชุมชนในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและการปฏิบัติตัวในสถานการณ์โควิด-91 0 0.00 -
25 เม.ย. 65 - 23 มิ.ย. 65 4. ดำเนินการเร่งรัดการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อเฉพาะโรค ได้แก่ ไข้เลือดออก 300 22,500.00 22,500.00
20 ต.ค. 65 5. ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยบริการ อบต. 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. เครือข่ายและประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการเร่งรัดการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่ออย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  3. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2565 09:17 น.