กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation)
รหัสโครงการ 65-L5163-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.เกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 99,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมงคล เครือแก้ว ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยที่รอรับการส่งตัวไปรักษาตัวต่อ ต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน ส่งผลให้คนใกล้ชิดต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือสัมผัสเชื้อจากภายในครอบครัว และขายเข้าสู่ชมชนในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจากการตรวจหาเชื้อจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้กลายพันธุ์ พบว่ายังมีแนวโน้มทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดสงขลา และปัจจุบันการระบาดของ โควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขปกติจะรับไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเตียงไม่เพียงพอสำหรับการรักษาตัวผู้ป่วย และเมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดที่รุนแรง ผู้ติดเชื้อต้องรอคอยอยู่ที่บ้านและทำให้คนใกล้ชิดต้องติดเชื้อต่อๆและขยายเข้าสู่ชุมชนในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรคโดยการค้นหาผู้ติดเชื้อดูแลรักษาแยกกักการกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ อาการหนัก(สีแดง) อาการปานกลาง(สีเหลือง) และอาการไม่รุนแรง(สีเขียว) การจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่ที่มีอาการไม่รุนแรง (สีเขียว) โดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดสงขลา ยังพบผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องด้วยเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เป็นระยะๆ ได้แก่ คลัสเตอร์งานศพคลัสเตอร์บิกซีคลัสเตอร์โรงงานคลัสเตอร์โรงเรียน เป็นต้นซึ่งจากการเกิดคลัสเตอร์ดังกล่าว ทำให้จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่มีจำนวนมาก โรงพยาบาลที่มีอยู่ในพื้นที่หรือโรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งขึ้น ไม่สามารถที่จะรองรับจำนวนผู้ป่วยดังกล่าวได้ ทำให้มีผู้ป่วยที่รอรับการส่งตัวไปรักษาตัวต่อ ต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน ส่งผลให้คนใกล้ชิดต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือสัมผัสเชื้อจากภายในครอบครัว และขยายเข้าสู่ชุมชนในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจากการตรวจหาเชื้อจากผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในเชิงรุกด้วยชุดตรวจ ATK ในพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ ระหว่างวันที่ 14 - 26 กุมภาพันธ์ 2565 ตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากสุงสุด จำนวน 48 รายต่อวัน ดังนั้น การพัฒนาระบบศูนย์แยกกักตัวเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิดแก่คนในชุมชนด้วยการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) จึงเป็นทางออกเพื่อการรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่
ประกอบกับคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 6/2565 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation) โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Community Isolation) ของตำบลเกาะใหญ่ ณ วัดเกาะใหญ่ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เพื่อเตรียมรองรับจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ที่คาดว่าจะมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตลอดเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2565 (คาดการณ์ว่าเดือนเมษายน 2565 จะมียอดผู้ป่วยสูงสุด) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ปัจจุบันนับวันจะทวีความรุนแรงและขยายไปในวงกว้างครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของหมู่บ้านในตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการและรักษาดูแลตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19

ร้อยละของประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการและรักษาดูแลตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19

95.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 99,890.00 0 0.00
26 ก.พ. 65 - 30 พ.ค. 65 จัดตั้งศูนย์พักคอยเตียงเพื่อคนในชุมชน Community Isolation& Home Isolation 75 99,890.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น(Antigen -Test-Kit) และได้รับการดูแลรักษาผ่านโรงพยาบาลสนามเพื่อการพักคอยเตียง Community Isolation& Home Isolation

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2565 15:42 น.