กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เชิงรุก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
รหัสโครงการ 65-L7258-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริการสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 3,000,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง  อย่างรวดเร็วไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าว  เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำ      ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโรคโควิด ๑๙ เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคดังกล่าว จังหวัดสงขลา มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อยืนยัน ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๔ สะสม จำนวน ๖๓,๔๗๘ บาท รักษาตัวในโรงพยาบาล ๓,๒๒๘ คน รักษาหายกลับบ้านแล้ว ๖๑,๗๕๘ คน เสียชีวิต ๒๘๓ คน (ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดสงขลา) ซึ่งแนวโน้มของสถิติคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) โดยคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข จะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น การคัดกรองและเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนเชิงรุก กักตัว      ผู้มีความเสี่ยง การรักษาระยะห่างระว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยอนามัยหรือหน้ากากผ้า ตรวจวัดอุณหภูมิ การใช้แอลกอฮอล์เจล สบู่ล้างมือ งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่ และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น เนื่องจากพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นพื้นที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น อีกทั้งย่านธุรกิจการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา มีตลาดจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อเสียงสร้างรายได้ให้กับอำเภอหาดใหญ่ เช่น ตลาดกิมหยง ตลาดสันติสุข เป็นต้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาตของโรคโควิด ๑๙ ส่งผลกระทบต่อสภาวะด้านเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจและการท่องเที่ยว สภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ประชาชนขาดรายได้ ว่างงาน ตกงาน ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อัตราผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนมาก  ส่งผลให้พบผู้สัมผัสใกล้ชิด หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ระบาดและการติดเชื้อจากบุคคลในครอบครัว สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร เป็นต้น การตรวจหาเชื้อโควิด ๑๙ จึงมีความจำเป็นอย่างสูงเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้างและสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เดิมการตรวจหาเชื้อจะใช้วิธีการ แบบ Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) หรือเรียกสั้นๆ  ว่า RT-PCR คือการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยดูจากสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสเป็นวิธีมาตรฐานสากล    (Gold Standard) ใช้ตรวจหาเชื้อโควิด ๑๙ โดยตรง แต่มีความซับซ้อน และต้องส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นที่ประชุม EOC ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center) ของกระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ Rapid Antigen Test ซึ่งจะช่วยให้หน่วยบริการสาธารณสุขสามารถค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่การระบาดได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย ทำให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ ลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ฝ่ายบริการสาธารณสุขสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เชิงรุกประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันระงับ ยับยั้ง กักกันกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันการระบาดในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ระบาดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
  1. กลุ่มเสี่ยง ได้รับผลการตรวจหาเชื้อและแยกประเภทได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม
2 2. เพื่อสามารถแยกผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงออกจากผู้ไม่ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
  1. ลดความเสี่ยงของประชาขนในพื้นที่ต่อการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
3 3. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในพื้นที่
  1. การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,000,000.00 1 3,000,000.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 1.การตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เชิงรุกโดยวิธี rapid antigen test 0 3,000,000.00 3,000,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การคัดกรองค้นหาบุคคลกลุ่มเสี่ยงและการตรวจหาเชื้อผู้ติดเชื้อเชิงรุกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ 2.มีการป้องกันการติดต่อแพร่ระบาดโดยติดตาม เฝ้าระวัง ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค 3.ลดการแพร่ระบาดของโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 4.ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 ได้ 5.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2565 14:18 น.