กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง


“ โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565 ”

ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสุดา นิยมเดชา

ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565

ที่อยู่ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 65-L5273-1-6 เลขที่ข้อตกลง 14/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 65-L5273-1-6 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประชาชนตำบลฉลุงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มเขึ้น เนื่องจากรุปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเติม จากการทำเกษตรเพื่อบริโภคมาเป็นการทำเกษตรเพื่อเศรษฐกิจเกษตรกรต้องการผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมี ประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืช จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ตำบลฉลุงมีจำนวนเกษตรกรกลุ่มที่สัมผัสสารเคมีในการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผัก ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.ฉลุง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรพืช เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การจัดกิจกรรมรณรงค์ การจัดบริการตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอรส เพื่อให้เกษตรกรมีความตะหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกปี โดยในปีล่าสุด 2563 ได้มีการสำรวจความเสี่ยงเกษตรจำนวน 200 คน และตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสในผู้ที่มีความเสี่ยงพบว่า อยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 9 ระดับเสี่ยง 78 คนคนิดเป็นร้อยละ 39 ระดับปลอดภัย 22 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ระดับปกติ 82 คนคิดเป็นร้อยละ 41 จากผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทาง รพ.สต.ฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ปี 2565 เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตร และประชาชนกลุ่มเสี่ยง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อ 1.เพื่อให้เกษตรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด
  2. ข้อ 2. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย
  3. ข้อ 3.เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประเมินความเสี่ยง
  2. กิจกรรมปฏิบัติการคัดกรอง
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
  4. ประเมินความเสี่ยง
  5. ปฏิบัติการคัดกรอง
  6. จัดอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงในพื้นที่ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณสารตกค้างในกระแสเลือด 2.กลุ่มเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้ยาฆ่าแมลง 3.เกษตรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประเมินความเสี่ยง

วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สัมภาษณ์เพื่อประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง ประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความเสี่ยงทางจิต จำนวน 300 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามแบบประเมิฯ นบก.1-56 ดังนี้ -ความเสี่ยงค่อนข้างสูง จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 55 -ความเสี่ยงสูง จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 38 -ความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 7 ผลการประเมินความเสี่ยงทางจิต ตามแบบคัดกรองโรคซืมเศร้า ดังนี้ -ผลปกติ จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100

 

300 0

2. ปฏิบัติการคัดกรอง

วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 300 คน นัดหมายให้มารับบริการตรวจชั่วโมงละ 50 คน เพื่อลดความแออัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ได้ผลการตรวจคัดกรอง  ดังนี้ -ผลปกติ  จำนวน 45 คน ร้อยละ 15 -ผลปลอดภัย  จำนวน 69 คน ร้อยละ 23 -ผลเสี่ยง  จำนวน 84 คน  ร้อยละ 28 -ผลไม่ปลอดภัย  จำนวน 102 คน ร้อยละ 34 บันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด ให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทานสมุนไพรรางจืด เพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เป็นเวลา 7 วัน พร้อมติดตามผลโดยการเจาะเลือดซ้ำ คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีผลเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัย  คือ 1. ผู้ที่ใช้สารเคมี ควรเลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้สารธรรมชาติทดแทน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ควรใช้ให้น้อยที่สุด ใช้อย่างถูกวิธีและใช้อุปกรณ์ป้องกันาี่ถูกต้องเหมาะสม 2.การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำไหลผ่าน แช่ผักและผลไม้ในน้ำส้มสายชู 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด 3.การล้างพิษด้วยสมุนไพรรางจืด ใช้ใบสด 5-7 ใบ ต้มกับน้ำสะอาดดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 4-5 ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 วัน ติดต่อกัน 1 เดือน โดยเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการคัดกรองเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัย ได้รับการแนะนำรักษาด้วยสมุนไพรรางจืด จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4.ติดตามผลหลังให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทานสมุนไพรรางจืดเพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เป็นเวลา 7 วัน  โดยการเจาะเลือดซ้ำในกลุ่มที่มีผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองซ้ำ  จำนวน  154  คน คิดเป็นร้อยละ 82.80 ได้ผลการตรวจ -ผลปกติ  จำนวน 52 คน ร้อยละ 33.76 -ผลปลอดภัย  จำนวน 66 คน ร้อยละ 42.85 -ผลเสี่ยง  จำนวน 34 คน  ร้อยละ 22.10 -ผลไม่ปลอดภัย  จำนวน 2 คน  ร้อยละ 1.29 ซึ่งหลังจากให้สุขศึกษาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และทานสมุนไพรรางจืดเพื่อล้างสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเป็นเวลา 7 วัน พบว่าผลปกติ และปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่วนผลเสี่ยงและผลไม่ปลอดภัยลดลง

 

300 0

3. จัดอบรมให้ความรู้

วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลจากการเจาะเลือด แล้วพบว่าอยู่ในระดับมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้ยาปราบศัตรูพืช และประชาชนกลุ่มเสี่ยง เรื่องการบริโภคให้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลจากการเจาะเลือด แล้วพบว่าอยุ่ในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การบริโภคให้ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 100

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อ 1.เพื่อให้เกษตรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รบการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด
0.00

 

2 ข้อ 2. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้อง
0.00

 

3 ข้อ 3.เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของเกษตรกรและประชาชนที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด ได้รับการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง และรักษาด้วยสมุนไพรรางจืด
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อ 1.เพื่อให้เกษตรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด (2) ข้อ 2. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย (3) ข้อ 3.เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประเมินความเสี่ยง (2) กิจกรรมปฏิบัติการคัดกรอง (3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (4) ประเมินความเสี่ยง (5) ปฏิบัติการคัดกรอง (6) จัดอบรมให้ความรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดตำบลฉลุง ปีงบประมาณ 2565 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 65-L5273-1-6

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุดา นิยมเดชา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด