กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 857,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิรณา อินพัฒนสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ด้วยในปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดยังต่อเนื่องทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทยที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายพื้นที่ออกไปในวงกว้างในหลายพื้นที่ ประกอบกับมีประชาชนที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา จากสถานการณ์การระบาดในตอนนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดและยังคงระบาดยังต่อเนื่อง โดยแถลงการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม จำนวน 668,492 ราย ติดชื้อเพิ่ม จำนวน 22,311 ราย กำลังรักษา จำนวน 213,645 ราย หายป่วยสะสม 486,855 ราย และแถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันของจังหวัดปัตตานีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จนถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสมในจังหวัดขณะนี้ จำนวน 2,740 ราย รักษาหาย 889 ราย ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงและต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ่อทอง ปัจจุบันมีการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 พบมีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่จำนวน 22 ราย และผู้ป่วยติดเชื้อกำลังรักษาโดยแบ่งตามพื้นที่ จำนวน 131 ราย ดังนี้ ม.1 จำนวน 4 ราย ม.2 จำนวน 3 ราย ม.3 จำนวน 6 ราย ม.4 ควนดิน จำนวน 26 ราย ม.5 จำนวน 6 ราย ม.6 จำนวน 52 ราย ม.7 จำนวน 7 ราย ม.8 โคกกอ จำนวน 12 ราย ม.9 ทุ่งนเรนทร์ จำนวน 1 ราย และ ม.4 บางเขา จำนวน 14 ราย เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนัก มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลบ่อทองโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องปรับกระบวนการโดยจัดให้มีกิจกรรมให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเข้าสู่ระบบการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร่วมกับรพ.สต.ในพื้นที่ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการร่วมกับส่วนราชการอื่นๆในอำเภอหรือองค์กรภาคเอกชนต่างๆในพื้นที่ เพื่อที่จะควบคุมการระบาดในพื้นที่หรือไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และต้องมีกิจกรรม งบประมาณ เพิ่มขึ้นเพื่อการเฝ้าระวังที่ดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้มีความรู้เรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 2 .เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิค Antigen Test Kit (ATK) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติสามารถลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ในพื้น 3. เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิค Antigen Test Kit (ATK) 2. ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการลงทะเบียนตรวจหาเชื้อโควิค - 19 ในการให้บริการ การคัดกรอง การป้องกัน การเฝ้าระวังการติดเชื้อจากโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้เป็นอย่างดี 3. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ 4. แกนนำสุขภาพในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนา 5. ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน ในพื้นที่มีการบูรณาการร่วมในการแก้ปัญหา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 06:40 น.