กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ และรณรงค์การป้องกันโรคระบาดในชุมชน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L4137-65-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา หะยีอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 23,200.00
รวมงบประมาณ 23,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (Joint Investigation Team: JIT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมทีมกันเพื่อรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ซึ่งการดำเนินงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากการสอบถามแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยาพื้นฐานและการป้องกันควบคุมโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลพร่อน ปรากฏว่าทีมยังขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวถึงร้อยละ 60 จึงมีความจำเป็นที่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลพร่อน ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานงานระบาดวิทยา เพื่อเป็นการยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำเวทีประชาคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีผลการสะท้อนปัญหาโรคติดต่อระบาดเป็นลำดับที่ 2 เนื่องจากในทุกๆ ปีในพื้นที่ตำบลพร่อน พบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคติดต่อที่หลากหลายและค่อนข้างรุนแรง ซึ่งในปี พ.ศ. 2563-2564 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) กระจายไปทั่วทุกมุมโลก จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งโลก เป็นจำนวน 398 ล้านราย และเสียชีวิต 5.75 ล้านราย ประเทศไทยป่วยติดเชื้อ 2.52 ล้านราย และเสียชีวิต 22,320 ราย พื้นที่จังหวัดยะลาป่วยติดเชื้อระลอกมกราคม 2565 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ (สะสม) 616 ราย และเสียชีวิต 11 ราย ส่วนพื้นที่ตำบลพร่อนพบผู้ป่วยติดเชื้อ (สะสมทั้งหมด) 325 ราย และเสียชีวิต 5 ราย (COVID-19 จังหวัดยะลา, 9 ก.พ.2565) ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ยังคงระบาดหนักอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ประชาชนได้มีความตระหนักในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยพบ จำนวน 2 ราย วัณโรค จำนวน 3 รายและโรคหัด 1 ราย แต่ในส่วนของโรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ.2563-2564 ไม่พบประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน ซึ่งมีแนวโน้มเกิดจากมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลพร่อน และประชาชน ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อฟื้นฟูความรู้แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลพร่อน ตามหลักวิชาการระบาดวิทยา เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ทีม JIT ในการดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสมและการควบคุมโรค และเพื่อภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกันรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังเหตุการณ์แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลพร่อน ตามหลักระบาดวิทยา

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชุมชนมีความรู้ในผลิตนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมใช้ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายผลิตและใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังเหตุการณ์แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลพร่อน ตามหลักระบาดวิทยา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชุมชนมีความรู้ในผลิตนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมใช้ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

11 พ.ค. 65 อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ระดับหมู่บ้าน ตำบล 0.00 23,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2565 14:51 น.