กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่ ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3068-10(5)-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสลี ดะเก๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3878 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบางตาวามีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทยทั้งหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 มีประชากรทั้งสิ้น 3,780 คน จำนวนหลังคาเรือน 750 หลังคาเรือน ประชากรประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2553 ผ่านมาตำบลบางตาวาได้ประสบภัยพิบัติและโรคระบาดอย่างต่อเนื่องจากลมมรสุมที่พัดผ่านเข้าในพื้นที่ในช่วงปลายปีของทุกปีทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งนี้ ต้องมีการเฝ้าระวังตลอดระยะเวลาช่วงมรสุมที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการแจ้งเตือน และทำให้ประชาชนในพื้นที่อยู่ด้วยความหวาดระแวง หวาดผวา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนเป็นอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุดวันที่ 3มกราคม 2562ตำบลบางตาวา ได้ประสบภัยพายุโซนร้อน (ปาบึก) พัดเข้าฝั่งอ่าวปัตตานีตั้งแต่ช่วงเช้า ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบางตาวาได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนและเรือประมงของประชาชนได้รับความเสียเป็นจำนวนมากและล่าสุดตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตทุกเขตท้องที่ราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564เมื่อวันที่สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่11/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่าตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องมีภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและโรคระบาดในพื้นที่ พร้อมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในฐานะมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชน ทั้งที่บ้านและในชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน อันได้แก่ การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ การป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อุทกภัย การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่ และศูนย์อพยพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่ ประจำปี 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมโรคอุบัติใหม่โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่

ร้อย100มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่

100.00
2 เพื่อให้มีเครือข่ายสุขภาพชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่และสามารถให้มีการดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 60 มีเครือข่ายสุขภาพชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่  โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่และสามารถให้มีการดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

40.00 60.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติด้วยตนเอง

 

0.00
4 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่

ร้อยละ 80 ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่  โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ควบคุมโรคอุบัติใหม่โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่ (กรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่) 0 50,000.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมลงประชาสัมพันธ์และลงสำรวจในพื้นที่ 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่
    1. มีเครือข่ายสุขภาพชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่และสามารถให้มีการดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
    2. ประชาชนสามารถป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติด้วยตนเอง
    3. ประชาชนมีความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคควบคุมโรคโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และภัยพิบัติในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2565 09:49 น.