กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการหนูน้อยกินดี สูงดี สมส่วน
รหัสโครงการ 65-L7575-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลตะโหมด เทศบาลตำบลแม่ขรี
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2565
งบประมาณ 4,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ เศรษฐพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจุจบันการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองให้มีความสำคัญกับการประกอบอาชีพ ซึ้งบางครอบครัวไม่ได้อยุ่กับพ่อแม่ ในยุคปัจจุบันที่ก้าวทันต่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิดส์ มือถือในการทำกิจกรรมต่างๆกับเด็กปฐม พบว่า เด็กมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนน้อยกว่า 60 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่งผลไปยังสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย ปี2559 พบว่าเด็กประถมศีกษาปีที่ 1 ที่มี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (IQ น้อยกว่า 90 ) อยู่ถึง 31.81 (ไม่ควรเกิน ร้อยละ 25 ) (สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต 2559) การเลือกรับประทานอาหารเป็นการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้เด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ในศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปรวดเร็ว ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็กให้มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตให้ทันต่อโลก และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ 2560 – 2579) ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย กำหนดเป็น ‘ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์”ด้วยการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาเด็กให้มีภาวะโภชนาการที่ดี สูงดีสมส่วนและมีทักษะที่จำเป็น อีกทั้งแก้ไขปัญหาแนวโน้มการตรวจพบเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเกินหรือทุพโภชนาการให้น้อยลง
หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนักในการดูแลเลี้ยงดูเด็กรวมทั้งมีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาเลือกสรรอาหารตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
จะสามารถดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงปฐมวัยลดโอกาสการคัดกรองพบภาวะโภชนาการที่ไม่สูงดีสมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐานในกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลตะโหมดได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลส่งเสริมภาวะโภชนาการ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กภายใต้โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ หนูน้อย สูงดี สมส่วน จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลเด็กด้านโภชนาการของเด็กในช่วงอายุ 0 – 5 ปี

1.สามารถพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลเด็กด้านโภชนาการของเด็กในช่วงอายุ 0 – 5 ปี

0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะเพิ่มมากขึ้นในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ แต่ละช่วงอายุ และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้

2.สามารถกลุ่มเป้าหมายมีทักษะเพิ่มมากขึ้นในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ แต่ละช่วงอายุ และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,400.00 0 0.00
1 - 15 เม.ย. 65 1. ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
15 เม.ย. 65 - 15 มิ.ย. 65 2. ขั้นดำเนินการ 0 4,400.00 -
15 - 30 มิ.ย. 65 3.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็ก แต่ละช่วยอายุและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70
    2.เพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการพบสูงดีสมส่วน ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 60 ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2565 11:29 น.