กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านลุ่มรักสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 65-L3057-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนบ้านลุ่ม
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพซอล หะแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง มีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอและปัจจุบันนี้ ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้กลับกลายมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชน จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกาย และบริโภคอาหาร ไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งถ้าประชาชนได้มีการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ อีกหนึ่งปัญหาที่อยู่ควบคู่ชุมชนมาโดยตลอด คือ ปัญหาขยะ ปัจจุบันเขตบ้านลุ่มมีปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งขยะเหล่านั้นมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ประชาชนขาดความรู้ในการจัดการขยะ อีกทั้งจุดทิ้งขยะในชุมชนส่วนใหญ่มีเพียง 1 ถังต่อ 1 จุด ทำให้คนในชุมชนทิ้งขยะลงถังเดียวกันโดยไม่มีการแยกขยะ เกิดเป็นขยะกองเดียว เมื่อขยะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ        ขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนคนในชุมชนและผู้คนที่สันจรบนท้องถนน อักทั้งยังเป็นพาหะนำโรคต่างๆ

ชมรมเยาวชนบ้านลุ่ม มีความประสงค์จะดำเนินการกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชนโดยการรณรงค์      และส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ในชื่อโครงการชาวบ้านลุ่มรณรงค์เดิน-วิ่งไร้โรค และส่งเสริมการจัดการขยะ บ้านลุ่มปลอดโรค ลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้        มีจิตสำนึกในการออกกำลังกายควบคู่กับจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดเป็นชุมชนสะอาด น่าอยู่ ไร้มลพิษ ประชาชนมีสุขภาพดี ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการออกกำลังกาย และการจัดการขยะ

ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเนื้อหาที่ได้อบรม

0.00
2 เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของประชาชน

ผู้เข้าร่วมไม่มีโรคที่เกิดจากการไม่ออกกำลังกายและขยะ

0.00
3 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักสุขภาพและการรักษาความสะอาด

ผู้เข้าร่วมมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีการจัดการขยะที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 1. วัสดุอุปกรณ์ในการจัดเตรียมสถานที่(16 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00              
2 2. ชาวปะเสรณรงค์เดิน-วิ่งไร้โรค(16 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00              
3 3. ส่งเสริมการจัดการขยะ บ้านลุ่มปลอดโรค ลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม(16 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00              
รวม 0.00
1 1. วัสดุอุปกรณ์ในการจัดเตรียมสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2. ชาวปะเสรณรงค์เดิน-วิ่งไร้โรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 3. ส่งเสริมการจัดการขยะ บ้านลุ่มปลอดโรค ลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการออกกำลังกายและการจัดการขยะอย่างถูกต้อง   2. ประชาชนมีภูมิคุ้มกันและป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรค สู่สุขภาพที่ดีของประชาชน   3. ประชาชนมีจิตสำนึกในการมีสุขภาพที่ดี รักษาความสะอาด ทำให้ชุมชนมีความสะอาดน่าอยู่ สู่สุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2565 10:18 น.