กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง คุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนโดยเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L1475-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนายุทธ ทองสม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมีมาตรการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบสารอันตรายห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมมาตรฐานกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอด สอดคล้องกับอุบัติการณ์ของโรคและภาวะขาดพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับคนไทย ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกับพิษภัยและผลกระทบจากสิ่งอันตรายเหล่านั้น กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักและมีนโยบาย แผนดำเนินการป้องกันแก้ปัญหานี้ อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจร้านค้าปีงบประมาณ 2564 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย ร้านชำจำนวน 53 ร้าน และแผงลอยจำนวน 22 ร้าน พบร้านขายของชำขายขนมหมดอายุและเสื่อมสภาพ 1 ร้าน ฉลากขนมไม่มี อย. 2 ร้าน ฉลากขนมไม่มีวัน เดือน ปีที่ผลิต หรือหมดอายุ 2 ร้าน ขนมไม่มีฉลาก/ฉลากไม่ครบถ้วน 3 ร้าน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค ในชุมชนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ยาไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังรถเร่ หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน  ทำให้ชุมชนปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของประชาชน และชุมชน เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาข้าวเสีย ที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการเพื่ออนุมัติ 2.จัดประชุมชี้แจงเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน การเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สารปนเปื้อนในอาหารและปัญหาจากการใช้พลาสติกและโฟม 3.จัดซื้อชุดทดสอบสำหรับใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 4.สำรวจร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่เพื่อกำหนดตัวอย่างในการสุ่มตรวจ 5.เครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนออกเก็บสิ่งส่งตรวจและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ตามเป้าหมายที่กำหนด 6.รายงานผลการตรวจสอบให้ประชาชนและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ได้รับทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
  2. ร้อยละ 90 ของเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อย่างถูกต้อง
  3. ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้รับการตรวจแนะนำโดยเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกต้องตามหลักองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 11:11 น.