กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลสทิงพระ
รหัสโครงการ 65-L7499-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 98,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชยุต ขุนรักษาพล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473304423,100.4389966place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) มีการแพร่กระจายในวงกว้าง และองค์การอนามัยโรคได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและมีการติดต่อจากคนสู่คน รวมถึงประเทศไทยได้ประกาศยกระดับการแจ้งเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4 เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามคาดการณ์ แนะนำปิดสถานที่เสี่ยงแพร่เชื้อหรือเพิ่มมาตรการให้ปลอดภัย ชะลอการเดินทาง จำกัดการรวมกลุ่ม และทำตามมาตรการ VUCA โดยฉีดวัคซีน ป้องกันตนเองสูงสุด สถานบริการใช้มาตรการ COVID Free Setting และตรวจ ATK เป็นประจำ จะช่วยชะลอการระบาดได้ และในปัจจุบัน พบว่า สถานการณ์ COVID-19 ขณะนี้ก้าวเข้าสู่ระลอกที่ 5 โดยมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และกราฟการติดเชื้อกำลังตั้งชัน ไทยพบการติดเชื้อโอไมครอนจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ ในรูปแบบ Test & Go โดยเฉพาะในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย.64 ซึ่งการเดินทางเข้ามาเดือน พ.ย. มีประมาณ 100,000 ราย ติดเชื้อโอไมครอน 83 ราย หรือ 0.08% ในเดือน ธ.ค. 64 เดินทางเข้ามาประมาณ 200,000 ราย ติดเชื้อโอไมครอน 730 คน หรือ 0.32% สูงขึ้นถึง 4 เท่า เนื่องจากมีการติดเชื้อมาจากประเทศต้นทาง ทั้งนี้ประเทศไทยและทั่วโลกพบผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มขึ้น และแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา อัตราการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา จึงค่อนข้างมั่นใจว่าการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้ป่วยอาการหนักถึงเสียชีวิตในอัตราที่ไม่สูงเท่าเดลตา และนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" เริ่มเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ "เดลตา" แล้ว ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อยังคงสูงขึ้นรายวัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ อาการของโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่แพร่ได้เร็วกว่า จากการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไทย 100 คน พบครึ่งหนึ่งมีอาการอีกครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ นอกจากนี้อาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอนยังแยกได้ยากกับโรคหวัด เพราะในจำนวน 100 คนมี 7 คน เชื้อลงปอด แต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และพบว่ามีอาการไอ 54% เจ็บคอ 37% มีไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% ได้กลิ่นลดลง 2% และเน้นแยกกักที่บ้าน และศูนย์พักคอยในชุมชนเป็นหลัก คาดรอบนี้ระบาดในเด็กมากเพราะยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแต่อาการจะไม่รุนแรง
    จากรายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 8 มีนาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวมจำนวน 447,661,332 ราย เสียชีวิต 6,026,082 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 18,943 ราย ผู้ป่วยสะสม (1 ม.ค. 65 - 8 มี.ค. 65) 843,365 ราย เสียชีวิต 69 ราย เสียชีวิตสะสม (1 ม.ค. 65 - 8 มี.ค. 65) 1,671 ราย และจากรายงานสถานการณ์โควิด 19 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา วันที่ 8 มีนาคม 2565 มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 282 ราย ผู้ป่วยสะสม (1 ม.ค. 65 - 8 มี.ค. 65) 8,796 คน เสียชีวิต 0 ราย เสียชีวิตสะสม (1 ม.ค. 65 - 8 มี.ค. 65) 30 ราย ทั้งนี้ การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลสทิงพระ
    เทศบาลตำบลสทิงพระ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลสทิงพระขึ้น เพื่อควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019) ในพื้นที่

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่ชุมชน และมีสถานที่รองรับผู้ป่วย

มีสถานที่รองรับผู้ป่วยในชุมชน

0.00
3 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019)

มีทรัพยากรเพียงพอในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 มี.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 การป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 0 72,300.00 72,300.00
17 มี.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 การจัดตั้งศูนย์พักคอย (Community Isolation) 0 20,950.00 -
17 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจคัดกรอง ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มของประชาชน 0 0.00 0.00
17 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจติดตาม เฝ้าระวังตามมาตรการเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019) ในสถานประกอบการ ร้านค้า สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น 0 0.00 0.00
1 - 30 เม.ย. 65 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 5,000.00 0.00
รวม 0 98,250.00 4 72,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  2. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลสทิงพระได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019)
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
  4. มีทรัพยากรเพียงพอในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 11:13 น.