กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลบางขุนทอง ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L2484-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 49,756.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีฮ๊ะ อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 49,756.00
รวมงบประมาณ 49,756.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคในเขตตำบลบางขุนทอง ในปี 2559 – 2564 พบผู้ป่วยจำนวน 4, 9, 0, 8, 9 และ 4 ราย ตามลำดับ ตำบลบางขุนทองมีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 จนถึง ปี 2564 แม้ใน ปี 2559 และ 2561 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ในอัตราที่ต่ำ แต่ปี 2562 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง ซึ่งมีอัตราป่วยสูงมาก ถึง 154.41 ต่อแสนประชากร และตำบลอื่นๆที่อยู่รอบๆข้างก็มีการระบาดของโรค ทุกปี ประชากรในตำบลบางขุนทองก็มีการเดินทางไปหาญาตินอกพื้นที่ หลายครั้งที่ประชาชน ไปรับเชื้อจากที่อื่น และกลับมาป่วยที่บ้าน การที่ประชาชนไปมาหาสู่กันอย่างต่อเนื่องนี้โรคไข้เลือดออกจึงยังเป็นปัญหาที่สำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน
เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้น จึงจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกๆ ฝ่าย ทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ร่วมบูรณาการกัน ป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคตลอดเวลา เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่ให้มีลูกน้ำยุง สุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุง ใส่ทรายฆ่าลูกน้ำยุง รณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการกำจัดขยะ การป้องกันและควบคุมโรค สร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบางขุนทองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มวัย

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้ช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 70 ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 50 ชุมชนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้ช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน และการทำสเปรย์ไล่ยุงจากตะไคร้หอม 21,000.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 28,756.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ 2.เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลง อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  2. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2565 00:00 น.