กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน


“ โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 ”

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายอาฟีฟี อาแด

ชื่อโครงการ โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565

ที่อยู่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4147-02-01 เลขที่ข้อตกลง 3/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-L4147-02-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2565 - 31 ธันวาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการ และแหล่งมั่วสุม อบายมุขต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 6 - 24 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย ด้านจิตใจและมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ วัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ สุรา ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการเข้าหายาเสพติด รวมถึงการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การท้องไม่พร้อม เพื่อจะได้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากปัญหาดังกล่าว

จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2559 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประมาณตัวเลขของผู้ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยที่มีประมาณ 65 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.93 พูดได้ว่าในจำนวนประชากรทุกๆ 100 คน จะมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 3 คน และ จากข้อมูลการเข้าบำบัดรักษาของประชาชนตำบลบาโงยซิแน พบว่า ปี 2555 มีผู้เข้ารับการบำบัด 29 ราย ปี 2556 มีผู้เข้ารับการบำบัด 30 ราย ปี 2557 มีผู้เข้ารับการบำบัด 1 ราย ปี 2558 มีผู้เข้ารับการบำบัด 15 ราย ปี 2559 มีผู้เข้ารับการบำบัด 2 ราย ปี 2560 ไม่มีผู้เข้าบำบัด ปี 2561 มีผู้เข้าบำบัด 6 ราย และปี 2562 มีผู้เข้าบำบัด 6 รายปี 2563 มีผู้เข้าบำบัด 4 ราย และ ปี 2564มีผู้เข้าบำบัด 4 รายแต่ยังมีเยาวชนเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อยากรู้ อยากลอง โดยการสูบบุหรี่เป็นการเริ่มต้น และข้ามไปหายาเสพติดต่อไป จึงจำเป็นจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เยาวชนกลุ่มเสพ ไปมั่วสุมกลับไปมีพฤติกรรมซ้ำ สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และกลุ่มเสี่ยง เลิกยุ่งจากยาเสพติด และจากการทำเวทีประชาคม ประชาชนได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะการป้องกันในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต ในการป้องกันการเริ่มต้นการติดยาเสพติดมักมาจากการสูบบุหรี่ก่อน แล้วพัฒนา ไปใช้ยาเสพติดอื่น เนื่องจาก ประชาชนขาดโอกาสในการศึกษาเป็นจำนวนมากและขาดความรู้ความเข้าใจในโทษของบุหรี่ อย่างลึกซึ้ง

ในปัจุบัน ตำบลบาโงยซิแน มีประชากรที่สูบบุหรี่จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 22.59 มีผู้สูบบุหรีที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อีกทั่งยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสพติดการสูบบหรี่ บุหรี่มีโทษมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะโทษต่อตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขภาพ ซึ้งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการสูบบุหรี่ตามมา และจากการสำรวจหาข้อมูลมีคนในหมู่บ้านที่มีโรคทางเดินหายใจจากผลที่เกิดจากสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นสิ่งอันตรายต่อสูขภาพต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่โดยตรง หรือทางอ้อมจากการได้รับควันบุหรี่มือสองและภัยอันตรายจากควันบุหรี่มือสาม และสารพิษที่ได้รับจากบุหรี่ อาจทำให้ทำร้ายสูขภาพต่อระบบต่างๆ เช่น ส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด ชมรม TO BE NUMBER ONE ได้ศึกษาค้นหาข้อมูล และได้ให้ความสำศัญต่อภัยอันตรายของบุหรี่ ซึ่งจะนำความรู้ให้สู่หมู่บ้านกับเด็กและเยาวชนได้มีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ ที่ถูกต้อง และหลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่อันจะนำไปสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ต่อไป

ดังนั้น ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน แกนนำชุมชน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน เพื่อจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เบาบางลง และหมดจากพื้นที่ในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่การเสพยาเสพติด มาจากการสูบบุหรี่ก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นกำลังสำคัญของชุมชนในอนาคต จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกัน ตามนโยบายและแนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การปัญหาดังกล่าว ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำร่วมกัน ในภาพรวมพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการป้องกันปัญหาของชุมชนเอง โดยยึดแนวดำเนินการตามโครงการ TO BE NUMBER ONE มาเติมเต็ม จึงได้จัดทำโครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน
  2. เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
  3. เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
  4. เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ
  5. เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย
  6. เพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน
  7. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง
  8. เพื่อสนับสนุนเยาวชน ให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยบุหรี่ และยาเสพติดโดยการสนับสนุนของสังคม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
  2. รณรงค์สร้างกระแส และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
  3. เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
  4. สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2,020
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
แกนนำเยาวชน 200

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ ในโรงเรียน และชุมชน
  2. ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในการเป็นแกนนำต้านภัยยาเสพติดโรคเอดส์ในชุมชนได้
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและปลอดจากยาเสพติดบุหรี่มือสอง โรคเอดส์ อย่างยั่งยืน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ส่วนที่ 3 : แบบรายงานผลการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ (สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ลงรายละเอียดเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงาน)

ชื่อแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 ผลการดำเนินงาน เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ รายละเอียดกิจกรรม : 1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน โดยมีคณะทำงานที่เป็นเยาวชน จำนวน ๒๐ คน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด โดยได้ประสานทางผู้นำชุมชน ทำการสำรวจค้นหากลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน และได้ส่งเข้าบำบัดรักษาที่.ศูนย์บำบัดยาเสพติดบ้านแสนสุข ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี...... จำนวน ...๓.....คน โดยได้รับงบจากผู้ใจดีบริจาคในการดำเนินงาน 3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยการจัดสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ชุมชนบาโงยซิแน จำนวน ๒ รุ่นๆละ ๑ วัน คือ - ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ชุมชนบาโงยซิแน ในโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา จำนวน ๑๐๐ คน อบรม ๑ วัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในโรงเรียน และชุมชน โดยมีเป้าหมายในการอบรมคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ ๒-๓ ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา มีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ 10๐.๐๐ - ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ชุมชนบาโงยซิแน ในโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา จำนวน ๑๐๐ คน อบรม ๑ วัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในโรงเรียน และชุมชน โดยมีเป้าหมายในการอบรม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ ๔-๕ ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา  มีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ คน คิดเป็น  ร้อยละ 10๐.๐๐ โดยมีหลักสูตรการอบรมในหัวข้อ นโยบายและสถานการณ์ยาเสพติด, โทษและพิษภัยของบุหรี่,กัญชาและ กระท่อม กิจกรรมการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE, ให้ความรู้เรื่อง ยาเสพติด สมองติดยา ตัวกระตุ้นภายนอกและภายใน และการป้องกันตนเองจากภัยยาเสพติด, ส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น, บทบาทแกนนำในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาบุหรี่ และยาเสพติด, พฤติกรรมวัยรุ่น การจัดการและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์,
และได้มีการทดสอบเรื่องความรู้ก่อนและหลังการอบรม ในเรื่อง ยาเสพติด บุหรี่ จำนวน 10 ข้อ ตารางที่ 1 แสดงความรู้ก่อน และหลังการอบรม ของผู้เข้ารับการอบรมโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ชั้น ม.๒-๓ ช่วงคะแนนที่ได้ ก่อนการอบรม จำนวน (N=10๐) หลังการอบรม จำนวน (N=1๐0) ก่อนอบรม ร้อยละ หลังอบรม ร้อยละ - ต่ำกว่า 5 (ต่ำ) - ๕-๗ คะแนน (ปานกลาง) - ๘-๑๐ คะแนน (ดี) 7 ๑๙ ๗๔ 3 1๕ 82 7.00 19.00 74.00 3.00 15.00 82.00 จากตารางพบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในความรู้เรื่อง ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น และอยู่ในระดับดี โดยมีผลคะแนนร้อยละ 82.๐๐ และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจมาก และอยากให้มีกิจกรรมบ่อยๆ ตารางที่ ๒ แสดงความรู้ก่อน และหลังการอบรม ของผู้เข้ารับการอบรมโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ชั้น ม.๔-๕ ช่วงคะแนนที่ได้ ก่อนการอบรม จำนวน (N=10๐) หลังการอบรม จำนวน (N=10๐) ก่อนอบรม ร้อยละ หลังอบรม ร้อยละ - ต่ำกว่า 5 (ต่ำ) - ๕-๗ คะแนน (ปานกลาง) - ๘-๑๐ คะแนน (ดี) 5 18 77 2 11 87 5.00 18.00 77.00 2.00 11.00 87.00

จากตารางพบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในความรู้เรื่อง ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น และอยู่ในระดับดี โดยมีผลคะแนนร้อยละ 8๗.๐๐ และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจมาก และอยากให้มีกิจกรรมบ่อยๆ ๔. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยการไปนำเสนอผลการดำเนินงานของกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ในระดับภูมิภาคที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ ๖-๘ เมษายน ๒๕๖๕ และได้ผ่านให้ไปนำเสนอที่ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๒๙-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ และได้รับรางวัลพระราชทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัลญาสิริวัฒนาพรรณาวดี รางวัล ชมรม TO BE NUMBER ONE ดีเด่นรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบทองปีที่ ๑ ประเภทชุมชนภูมิภาค และได้มีคณะกรรมการส่วนกลางจากโครงการ TO BE NUMBER ONE ได้มาตรวจเยี่ยมชม และได้ให้ข้อเสนอแนะ ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ ๕. จัดทำสื่อความรู้แผ่นพับ ในเรื่อง บุหรี่ และโทษภัยยาเสพติด จำนวน 1,500 ชุดและลงให้ความรู้ และแจกแผ่นพับแก่เยาวชนทุกหมู่ ในตำบลบาโงยซิแน ๖. จัดทำไวนิลความรู้ และประชาสัมพันธ์ ในกิจกรรมชองชมรม ขนาด 0.8 x ๒ เมตร พร้อมฐาน ROLL UP จำนวน ๕ ชุด เพื่อไปจัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ ๗. จัดทำนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE บริเวณชมรมงาน TO BE NUMBER ONE และได้มีการออกบูทให้ความรู้แก่เยาวชน และมีการนำเสนอข้อมูลสรุปการปฏิบัติงาน ให้แก่เยาวชน ผู้ร่วมงาน และได้มีคณะกรรมการจากส่วนกลาง ในโครงการ TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ลงประเมินและตรวจเยี่ยมชมรม เพื่อเข้าสู่ชุมชนดีเด่นต้นแบบเงิน ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ และ มีภาคีเครือข่ายจาก ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนกูแบรายอ, ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา, หน่วยญาลันนันบารูที่ 19, ชมรมหมอพื้นบ้าน,ชมรม อสม.ต.บาโงยซิแน, กลุ่มสตรี ต.บาโงยซิแน ได้ร่วมกิจกรรม และร่วมจัดบูท แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๒ ครั้ง ๘. รณรงค์ และแจกสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับ ให้สุขศึกษา เรื่องการป้องกันยาเสพติด บุหรี่ และโรคCOVID- 19 ในชุมชน ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ –๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๕๐๐ หลัง จำนวนแผ่นพับ ๑,๕๐๐ ชุด และได้จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดพร้อมให้ความรู้นักเรียน กศน ตำบลบาโงยซิแน เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ และนักเรียนโรงเรียนบ้านยะหา เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๙. การส่งเสริมให้เยาวชนออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงในการไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยการเล่นกีฬาฟุตบอลในเยาวชนชายเล่นวอลเล่ย์บอลในเยาวชนหญิง ณ สนามโรงเรียนบ้านบาโงยซิแน และการออกกำลังกายแอร์โรบิค ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแนในตอนเย็นหลังเลิกเรียนทุกวัน โดยมีเยาวชนเข้าร่วมประมาณ ๑๐๐ คน
๑๐. ได้สนับสนุนกิจกรรม ชมรม TO BENUMBER ONE ในสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านบาโงยซิแน โรงเรียนบ้านซีเย๊าะ และโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา โดยการให้ความรู้ และร่วมเป็นเครือข่ายในโรงเรียน สถานประกอบการต่างพื้นที่ คือ บริษัทกัฟล์ ยะลา, โรงเรียนผดุงประชา, โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง ยะลาและชุมชน คือ ชุมชนกูแบรายอ ชุมชนเมืองเก่าท่าสาป ๑๑. มีการรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันยาเสพติด บุหรี่ เอดส์ โดยชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนบาโงยซิแน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบาโงยซิแน โรงเรียนบ้านบาโงยซิแน โรงเรียนสุขสวัสด์วิทยา เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันยาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จำนวน ๓ ครั้ง ๑๒ สรุปถอดบทเรียน และสรุปผลการปฏิบัติงาน ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ จำนวนเป้าหมาย ๔๐ คน เข้าร่วม จำนวน ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๗.๕๐ โดยสรุปแยกเป็นกิจกรรม และแนวทางแก้ไขปัญหา
เรื่อง จะป้องกัน และแก้ไขปัญหา ยาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร อย่างไร 1 ในโรงเรียน ยาเสพติด -จัดอบรมให้ความรู้ถึงโทษ ของยาเสพติด -ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเกี่ยวกับยาเสพติด -จัดกิจกรรมวันห่างไกลยาเสพติด -รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด -จัดตั้งชมรมกีฬาภายในโรงเรียน -เลือกคบเพื่อนที่ดี -ทำแผ่นพับเกี่ยวกับยาเสพติด แจกให้นักเรียน -ไม่คิดและทดลองเกี่ยวกับยาเสพติด

บุหรี่ -พยายามอยู่ห่างจากผู้คนที่สูบบุหรี่ -เวลาเพื่อนชักชวนให้หลีกเลี่ยงมากที่สุด -ทำมาตรการการทำโทษ ผู้สูบบุหรี่ในโรงเรียน -ช่วยตักเตือน เพื่อนที่สูบบุหรี่ -จัดหาวิทยากร มาแนะนำเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ -ตรวจและเชคกระเป๋า ก่อนเข้าประตูโรงเรียน

โรคเอดส์ -ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ -ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ -ห้ามใช้ของส่วนตัวร่วมกัน -หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคน -จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคเอดสื และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร -แยกเพศ ชาย หญิง เวลาเรียน -ตั้งกฎกติกาในโรงเรียน เช่น ห้ามอยู่กัน สองต่อสอง ในที่ลับตาคน -หากิจกรรมเสริม เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่น -เน้นหลักศาสนา ให้เข้มข้น -เว้นระยะห่างในการอยู่ร่วมกันกับต่างเพศ -ให้คุณครูสอนและปลูกฝัง การไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร ๒ ในครอบครัว สภาพปัญหา -พ่อ แม่ ไม่มีเวลาให้ -ปล่อยให้ลูกนอนนอกบ้าน นอนบ้านเพื่อน โดยที่ไม่ติดตามดูแล -พ่อแม่ ทะเลาะกันบ่อย ต่อหน้าลูก -พ่อ แม่ ไม่สนใจถามไถ่ เรื่องการเรียนของลูก -ลูกติดโทรศัพท์ -พ่อ แม่ ชอบใช้ความรุนแรง

การแก้ไขปัญหา -ดูแลเอาใจใส่ลูก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงปัจจุบัน เช่น การพูดคุย การให้คำปรึกษา -เปิดโอกาสให้ลูกได้ซักถาม และมีเวลาให้กับลูก -การพูดคุยกับลูกถึงภัยอันตรายของยาเสพติด และปลูกฝังในเรื่องศาสนาให้บ่อยๆ -อธิบายให้ลูกใช้โทรศัพท์ ที่เป็นประโยชน์ -กินข้าวร่วมกัน เพื่อพูดคุยและเป้นเพื่อนให้กับลูก -พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ โดยนำหลักศาสนามาพูดคือ อิสลามห้ามเด็ดขาดในการมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่คู่สมรสของตัวเอง อย่างมีเหตุผล -อย่าให้ลูกไปนอนบ้านเพื่อน โดยไม่จำเป็น -พ่อ แม่อย่าทะเลาะต่อหน้าลูก -พ่อ แม่ ควรรับฟังปัญหาของลูก และพร้อมให้คำปรึกษา เวลาลูกมีปัญหา -ปลูกฝังให้ลูก อยู่ในหลักการศาสนา -พ่อ แม่ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก -อย่าให้ลูกเที่ยวกลางคืน โดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล -สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว วัยเด็ก 0-7 ปี เลี้ยงแบบตามใจ
8-15 ปี ให้เรียนรู้ การทำงาน วัยรุ่น 15 ปีขึ้นไป เลียงอย่างเพื่อน 3 ในชุมชน ยาเสพติด -จัดทำกิจกรรมยามว่าง -ไม่ควรลองยาเสพติดทุกชนิด -ตั้งชมรม ทูบีนัมเบอร์วันในชุมชน -จัดกิจกรรมสร้างรัก สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน -ระมัดระวังการใช้ยา และไม่มีโฆษณาชวนเชือในชุมชน -จัดกิจกรรมให้ความรู้ และการป้องกันเกี่ยวกับยาเสพติด -พาคนที่ติดยา ไปรักษา -จัดทีมดูแล สอดส่องในชุมชน
บุหรี่ -จัดสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน -เลือกคบเพื่อนที่ดี -ไม่อยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่ -จัดโซนสูบบุหรี่ -ไม่ขายบุหรี่ แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี -ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า18ปี ไปซื้อบุหรี่เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกอยากลอง -การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น - ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ - มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ -จัดกิจกรรมครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home) และมอบป้าย -กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด

โรคเอดส์ -รณรงค์การป้องกันเอดส์ ในชุมชน -จัดอบรมให้ความรู้ -จัดกิจกรรมทางศาสนาให้เด็กได้ตระหนักและปฏิบัติตามหลักศาสนา กิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน ๑ กิจกรรมงานวันเด็ก
1.1 สิ่งที่น้องๆได้รับ • น้องๆได้รับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และได้เปิดมุมมองใหม่ๆ
• ได้รับความสนุกสนานจากการเข้าร่วมกิจกรรม • ทำให้น้องๆมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น 1.2 ปัญหาที่พบเจอ • สถานที่จัดงานมีเนื้อที่ไม่เพียงพอที่จะสามารถรองรับจำนวนผู้คนได้ • ผู้ปกครองเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมที่ควรเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องเป็นผู้เข้าร่วม • ขยะที่เกิดขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรม 1.3 วิธีการแก้ปัญหา • ควรจัดหาสถานที่ให้มีความสอดคล้องต่อการจัดกิจกรรม • ควรมีการอธิบายแก่ผู้ปกครองให้ทราบว่าควรเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องเข้าร่วมด้วยตนเองเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด • ควรมีการเพิ่มกิจกรรมเก็บขยะหลังจบกิจกรรม ๒) โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565

2.1 สิ่งที่น้องๆได้รับ • น้องๆได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องภัยยาเสพติด โรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ • ได้รู้ในเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด • ได้รู้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้และเผยแพร่ต่อให้กลุ่มเพื่อนและรุ่นน้อง 2.2 ปัญหาที่พบเจอ • เวลาในการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ • บุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือไม่เต็มที่ 2.3 วิธีการแก้ปัญหา • ควรมีการบริหารเวลาให้เป็นระบบมากกกว่านี้ • ควรมีการปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน 3) กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด 19 3.1 สิ่งที่น้องๆได้รับ • น้องๆมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำได้อย่างถูกต้อง • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อครอบครัว และคนในชุมชน 3.2 ปัญหาที่พบเจอ • น้องๆไม่ค่อยให้ความร่วมมือในบางกิจกรรม • สถานที่ไม่ค่อยอำนวยในความสะดวก 3.3 วิธีการแก้ปัญหา
• ควรมีการสอดแทรกกิจกรรมนันทนการเพื่อกระตุ้นให้น้องๆมีความตั้งใจในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น • ควรมีการจัดหาสถานที่ให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมมากยิ่งขึ้น 4) กิจกรรมรณรงค์แจกใบความรู้( แผ่นพับ )ในชุมชน 4.1 สิ่งที่ได้รับ • ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับยาเสพติด • ผู้อ่านสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.2 ปัญหาที่พบเจอ • การแจกใบความรู้มีความล่าช้าเนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย • ใบความรู้ แผ่นพับ มีไม่เพียงพอ 4.3 วิธีการแก้ปัญหา • ควรมีการศึกษาสภาพอากาศก่อนที่จะแจกใบความรู้ • เพิ่มความรู้และภาพประกอบมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และจัดทำเพิ่มขึ้น •
5) ต้อนรับคณะกรรมการมาตรวจเยี่ยมทูบีนัมเบอร์วัน ชุมชนบาโงยซิแน 5.1 สิ่งที่ได้รับ • ทีมงานได้เรียนรู้ความผิดพลาดและสิ่งที่ต้องปรับแก้ • ทำให้ทีมงานมีความเป็นหนึ่งเดียวมากยิ่งขึ้น 5.2 ปัญหาที่พบเจอ • การวางแผนงานยังไม่รัดกุมมากเพียงพอ • สถานที่ไม่อำนวย มีการก่อสร้างขยายอาคาร 5.3 วิธีการแก้ปัญหา • ควรวางแผนงานใหมันรัดกุมมากกว่านี้ • จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ ร้อยละ 1๓.๕๐ (เป้าหมาย ร้อยละ 1๕) 2. จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน) ๑๓๕ คน (เป้าหมาย ลดลงเหลือ ๑๕๐ คน) 3. อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ ร้อยละ ๒๙.1๑ (เป้าหมายร้อยละ ๔๐) 4. จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อยลดลงเหลือ (เป้าหมาย ๕ ครั้ง) ผลงาน ไม่มีเหตุการณ์ในปี ๒๕๖๕ 5. จำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน ลดลงเหลือ (เป้าหมายร้อยละ ๕๐) ผลงาน ร้อยละ 5๓.๖0 6. เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด และการป้องกันยาเสพติด นักเรียนโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยาชั้น ม.๒-ม.๓ ในระดับดี ร้อยละ 8๒.๐๐ และชั้น ม.๔-ม.๕ ในระดับดี ร้อยละ 8๗.๐๐ (เกณฑ์ ในระดับดี ร้อยละ 80 โดยประเมินจากแบบทดสอบก่อน และหลังอบรม) 7. เยาวชน ได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยบุหรี่ และยาเสพติด จำนวน ๓ ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 1๕๐ คือ การรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันยาเสพติด บุหรี่ และ จัดนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
8. มีการจัดนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 9. เกิดแกนนำเยาวชนในการรณรงค์เรื่องบุหรี่และยาเสพติด จำนวน ๒๐๐ คน

2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์  บรรลุตามวัตถุประสงค์ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ .................................................................................................. ............................................................................................................................................................................ 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการแก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE  จำนวน ๒๐๐ คน (เป้าหมาย ๒๐๐ คน) คิดเป็นร้อยละ 10๐.๐๐ ๒.๓ จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์แก่เยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE  จำนวน ๒๐๐ คน (เป้าหมาย ๒๐๐ คน) คิดเป็นร้อยละ 100 ๒.๓ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลปฏิบัติงาน และถอดบทเรียน จำนวน ๔๓ คน (เป้าหมาย ๔๐ คน) คิดเป็นร้อยละ ๑๐๗.๕๐

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 120,000  บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 120,000  บาท  คิดเป็นร้อยละ 100 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ  -  บาท  คิดเป็นร้อยละ 0
  2. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มี  มี ปัญหา/อุปสรรค (ระบุ)
    ได้รับงบประมาณล่าช้า ได้วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ทำให้ทำกิจกรรมไม่ทัน และมีสถานการณ์น้ำท่วม มีอุปสรรคในการจัดกิจกรรม จึงต้องขอขยายเวลาในการดำเนินงานอีก ๖ เดือน แนวทางการแก้ไข (ระบุ)
    จะเน้นการให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รถประชาสัมพันธ์ และแกนนำ TO BE NUMBER ONE จะให้ความรู้ถึงบ้าน และขอขยายเวลาดำเนินการ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๖     


    ลงชื่อ.........................................................................ผู้รายงาน             ( นายอัฟฟันดี วาเด็ง) ตำแหน่ง ประธาน ชมรม TO BE NUMBER ONE ต.บาโงยซิแน   วันที่-เดือน-พ.ศ.  ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน
ตัวชี้วัด : อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)
20.00 15.00

 

2 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน)
200.00 150.00

 

3 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
ตัวชี้วัด : อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)
45.00 40.00

 

4 เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ
ตัวชี้วัด : อัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นเป็น(ร้อยละ)
73.73 80.00

 

5 เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย
ตัวชี้วัด : จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อยลดลงเหลือ(ครั้ง)
8.00 5.00

 

6 เพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน ลดลงเหลือ(คน)
110.00 100.00

 

7 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง
ตัวชี้วัด : เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง ในระดับดี (ร้อยละ) 80
70.00 80.00

 

8 เพื่อสนับสนุนเยาวชน ให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยบุหรี่ และยาเสพติดโดยการสนับสนุนของสังคม
ตัวชี้วัด : -เยาวชน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยยาเสพติด จำนวน 2 กิจกรรม -จัดนิทรรศการ TO BE NUMBER ONE จำนวน 1 ครั้ง -เกิดแกนนำเยาวชนในการรณรงค์เรื่องบุหรี่และยาเสพติด
2.00 2.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2220
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2,020
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
แกนนำเยาวชน 200

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน (2) เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (3) เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน (4) เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ (5) เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย (6) เพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน (7) เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง (8) เพื่อสนับสนุนเยาวชน ให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยบุหรี่ และยาเสพติดโดยการสนับสนุนของสังคม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ (2) รณรงค์สร้างกระแส และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ (3) เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน (4) สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2565 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4147-02-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอาฟีฟี อาแด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด