กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการสมวัยและห่วงใยสุขภาพ ด้วย 3อ. ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L7252-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฑิตฐิรีย์ ทองสาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยเทศบาลเมืองสะเดามีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านสะเดา โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนหมู่บ้านตัวอย่าง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน 3 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านตัวอย่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไทรงามสัมพันธ์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติ ด้วยนโยบายของรัฐโดยเฉพาะในเรื่องของอาหารกลางวัน เด็กเล็กและเด็กอนุบาล-ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จะได้รับอาหารกลางวัน อาหารเสริม(นม)ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้เหมาสมตามวัย ลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดามีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา โดยดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนจากสำนักงบประมาณในด้านการศึกษา และเบิกหักผลักส่งงบประมาณให้สถานศึกษา เพื่อส่งผลให้บริหารจัดการงบประมาณและส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลาได้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอาหารกลางวันของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองสะเดา ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยได้ส่งรายงานผลการตรวจสอบ ในเรื่องรายงานข้อมูลสุขภาพเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ 1/2563 จำนวน 5 สถานศึกษา พบว่า มีเด็กนักเรียนยังมีปัญหาทุพโภชนาการ ดังนี้ - ภาคเรียนที่ 2/ 2563 เด็กทั้งหมด 2,437 คน มีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ 190 คน  คิดเป็นร้อยละ 7.79
- ภาคเรียนที่ 1/ 2564 เด็กทั้งหมด 2,489 คน มีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ 234 คน คิดเป็นร้อยละ 9.36   และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลามีข้อเสนอแนะ ให้เทศบาลให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดหาอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน รวมทั้งผู้ปกครองเพื่อนำความรู้ด้านคุณค่าทางโภชนาการไปจัดอาหารให้แก่เด็กนักเรียนที่บ้านได้อย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดภาวะทุพโภชนาการ ดังนั้น การให้ความรู้เรื่องโภชนาการ และ 3 อ แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเล็กและนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ และลดปัญหาเด็กภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลต่อการพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กเล็ก นักเรียนให้เหมาะสมตามวัย ต่อไป กองการศึกษามีหน้าที่ติดตามควบคุมกับกับดูแลสถานศึกษา จึงเสนอโครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการสมวัยและห่วงใยสุขภาพ ด้วย 3 อ ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดอาหารกลาวันแก่เด็กนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยของเด็กเล็ก เด็กนักเรียน 2. เพื่อให้ครูและบุคลากรนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยลดปัญหาเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ 4. ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานของสถานศึกษาแต่ละแห่งดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคของเด็กเล็กและนักเรียนในโรงเรียนค้นหานักเรียน ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ (มีภาวะเริ่มอ้วน,อ้วน,ผอมและเตี้ย) ในสถานศึกษา ทั้ง 6 แห่ง ชี้แจงคืนข้อมูลและหาแนวทางร่วมกับผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
กิจกรรมที่ 2 อบรมวิชาการให้กับผู้แทนครูและบุคลากร เรื่อง โภชนาการการอาหาร ควบคุมอารมณ์และการออกกำลังกาย (3 อ.)
1) อ = อาหาร
- จัดเมนูอาหารที่มีโภชนาการ เหมาะสมตามวัย - ดูแลควบคุมกำกับการรับประทานอาหาร ตามความเหมาะสมกับเด็กเล็ก/เด็กนักเรียนตามภาวะโภชนาการ
2) อ = ออกกำลังกาย - ออกกำลังกายเหมาะสมตามวัย 3) อ = อารมณ์
- การเรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์ของเด็กเล็ก เด็กนักเรียน

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมนิเทศติดตามการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่เข้ารับการอบรม โดยนำความรู้ไปใช้กับเด็กเล็กและนักเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในสถานศึกษา กับเด็กเล็ก/นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน,อ้วน,ผอมและเตี้ย สถานศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินผล หลังจากบุคลากรนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียน จำนวน 6 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและบุคลากรมีความรู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดอาหารกลาวันแก่เด็กนักเรียนเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยของเด็กเล็ก เด็กนักเรียน
    1. ครูและบุคลากรนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    2. ลดปัญหาเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในสถานศึกษา
    3. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2565 14:35 น.