กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) สายพันธ์ใหม่
รหัสโครงการ L2502-65-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่4
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2565
งบประมาณ 72,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ มะเตาเฮบ เปาะโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดใหญ่ ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 นั้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม และการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ในประเทศไทย จากข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย จะได้เห็นว่าเชื้อโควิด-19 มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนกล้ายเป็นสายพันธุ์โอมิคอลในช่วงที่ผ่านมานี้ ซึ่งแพร่กระจายและติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเชื้อแพร่กระจายได้เร็วกว่าเดิม 3-4 เท่า ในต่างประเทศมีรายงานว่า อัตรากาติดเชื้ออยู่ในของเด็กสูงขึ้นตามสัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเด็กกลุ่ม 5-11 ปีติดเชื้ออยู่ในสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับวัคซีน การการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กอายุ5-11 ปี พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ถึง 90.7 เปอร์เซ็นต์ หากเปรียบเทียบอาการของเด็กกับผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ดูเหมือนว่าผู้ใหญ่จะมีอาการน้อยกว่า เพราะความรุนแรงของโรคจะลดลงเมื่อได้รับวัคซีน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิคอนสำหรับเด็กนั้นค่อนข้างน้อย จากการศึกษาพบว่า แนวโน้มการติดเชื้อโอมิคอนในเด็กนั้นก็มีความรุนแรงไม่มาก แต่ถึงกระนั้นแล้ววัคซีนโควิด-19 ก็ยังมีความจำเป็นกับเด็กๆ จำเป็นต้องไปเรียน หากเด็กมีการติดเชื้อที่ไม่รู้ตัว จะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การได้รับวัคซีนจะทำให้การแพร่กระจายของโรคน้อยลงและสามารถควบคุมการระบาดได้ อีกทั้งในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ ยิ่งจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกัน เพราะหากมีการติดเชื้อจะทำให้มีอาการรุนแรงได้
ทั้งนี้ ถึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญให้ประชาชนฉีดกระตุ้นป้องกัน และเร่งให้ในเด็กกลุ่มอายุ 5-11 ปี ได้รับวัคซีนป้องกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ด้วยความหวังว่าจะทำให้ประชาชนมีภูมิต้านทานสูงไว้ก่อน
เพื่อสู้กับไวรัสตัวนี้ เพื่อการดำรงมาตรการเฝ้าระวังและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ระลอกสายพันธ์ใหม่ ในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ให้ดำเนินงานรณรงค์สร้างความรอบรู้แก่ประชาชน ให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้ด้านการปฏิบัติตนในการป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID 19) สายพันธ์ใหม่

สามารถการป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ได้

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนฉีดวัคซีนกระตุ้น และกลุ่มอายุ 5-11 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 14664 72,750.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 65 รณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธุ์ 14,664 72,750.00 -
  1. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการฯ
  3. ดำเนินการบูรณาการกับผู้นำชุมชน และสมาชิกสภา
  4. จัดดำเนินงานโครงการฯ
    4.1 ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ตามจุดที่วางไว้ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 จุด
    หมู่ที่ 2 จำนวน 10 จุด
    หมู่ที่ 3 จำนวน 8 จุด
    หมู่ที่ 4 จำนวน 5 จุด หมู่ที่ 5 จำนวน 10 จุด
    หมู่ที่ 6 จำนวน 7 จุด 4.2 แจกแผ่นพับรณรงค์
  5. รายงานผลการดำเนินโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนสามารถป้องกัน และเฝ้าตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนได้รับวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2565 11:09 น.