กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างการ เช่น ตา ไต หลอดเลือดสมอง ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านาการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2564 จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 ทีมีการระบาดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย และพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านดาริง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ยิ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ประชาชนมีความวิตกกังวล ใช้ชีวิตที่ลำบากวิถีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง สุขภาพกาย ใจ ถดถอยลง คาดการณ์ว่าประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เป็นความดัน และเบาหวานเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการคัดกรองโรคของชมรม อสม.ร่วมกับรพ.หนองจิก ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 พบว่าร้อยละของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันและเบาหวาน ในปี 2562 ร้อยละ 5 และ 1.4 ปี 2563 ร้อยละ 5.9 และ 1.8 ปี 2564 ร้อยละ 6.53 และ 2.43 ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดาริง หมู่ที่ 4 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เห็นควรที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังโรค อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการคัดกรองโรคที่จะเกิดขึ้นและนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติตัว และเข้าสู่ระบบการส่งต่ออย่างทันท่วงที จึงได้ทำโครงการลดเสี่ยง ลดโรค (ความดัน เบาหวาน) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปปฏิบัติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (ปชก. 871 คน 50%=436 คน)
871.00 436.00 450.00

 

2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้และมีบทบาทในการจัดการสุขภาพเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มีความรู้การดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังโรค
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 871 87
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 871 87
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน  ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ (2) เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้และมีบทบาทในการจัดการสุขภาพเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วม (2) รุกชุมชน คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย (3) ปิงปองจราจร 7 สี (4) รุกชุมชน เยี่ยมบ้าน ติดตามกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย (5) สรุปผลการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh