กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวทำนบร่วมใจ ป้องกันและรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5264-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 66,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพัทธนัย จอเอียด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 66,750.00
รวมงบประมาณ 66,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) เป็นโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนามีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก การแพร่กระจายเชื้อมีลักษณะเป็นวงกว้างและมีความรุนแรงมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มป่วยด้วยโรคประจำตัว คนท้องและเด็กเล็กแพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม โดยรับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้ามีระยะฟักตัว 1-14 วัน สถานการณ์โรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) ข้อมูลในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวน ๑,๕๗๔,๖๑๒ ราย เสียชีวิต ๑๖,๖๓๓ รายจังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยจำนวน ๒๙,๙๐๓ ราย เสียชีวิต ๑๕๑ รายในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนครพบว่า มีอัตราป่วยเป็นอันดับ ๓ ของจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยจำนวน ๓,๕๔๒ ราย เสียชีวิต ๒๒ ราย ตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือตำบลหัวเขาตำบลสทิงหม้อ ตำบลม่วงงาม ตำบลวัดขนุนและตำบลชิงโคตามลำดับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 )ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาและความรุนแรงของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลเป็นอันมาก ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตระหนักถึงประชาชนของตำบลทำนบที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) จึงได้จัดทำโครงการ ชาวทำนบร่วมใจป้องกันและรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ( COVID – 19 ) เพื่อป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งเป็นการสร้างความตะหนัก และรับมือกับการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙( COVID – 19 ) มีมีการระบาดในขณะนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ การเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาดและความร่วมมือควบคุม ป้องกันโรค

ร้อยละ 90 ผู้นำชุมชน อสม. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ การเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาดและความร่วมมือควบคุม ป้องกันโรค

30.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทำนบ มีความตระหนักต่ออันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID – 19 )

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่ตำบลทำนบมีความรู้ และปฏิบัติตัว เพื่อป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID – 19 ) อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

40.00 80.00
3 เพื่อลดความรุนแรงของโรค และลดการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ของตำบลทำนบ
  1. อัตราป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID – 19 ) ลดลง
  2. ประชาชนในตำบลทำนบรับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID – 19 ) เพื่อลดความรุนแรงของโรค มากกว่าร้อยละ 70
40.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,750.00 0 0.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผน และสรุปการดำเนินงาน 0 1,500.00 -
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย การควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID–19 )และการให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติขณะกักตัว แก่ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูง 0 16,600.00 -
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมควบคุมป้องกันโรค กิจกรรมการรวมตัวคนหมู่มาก / ในสถานบริการ 0 26,500.00 -
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ที่กักตัวตามบ้านเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และลงเยี่ยมผู้ที่กักตัว พูดคุยให้ คำแนะนำ ให้กำลังใจแก่ผู้ที่กักตัว 0 22,150.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 ประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำครอบครัวในตำบลทำนบมีศักยภาพในการเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาด ในชุมชนโดยชุมชน
  2. ประชาชนในตำบลทำนบมีความรู้และปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( COVID – 19 ) อย่างถูกต้องสามารถดูแลบุคคลคนในครอบครัว และชุมชนของตนเอง
  3. ประชาชนในตำบลทำนบ รับการวัคซีนครบทุกคนและสามารถป้องกันตัวเอง จนทำให้อัตราการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2565 00:00 น.