กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเด็กจมน้ำ กิจกรรม “ลอยตัวได้ ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย” ปี ๒๕๖๕
รหัสโครงการ 65-L5251-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานการแพทย์ฉุกเฉิน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสำนักขาม
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 26,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนนทวัฒน์ เส็มสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า อุบัติเหตุที่เสียชีวิตจากการจมน้ำในแต่ละปีประมาณ ๓๗๒,๐๐๐ คน มากกว่าร้อยละ ๕๐ อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เป็นสาเหตุอันดับที่ ๓ รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเอดส์ สำหรับในประเทศไทย พบเด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตเป็นอันดับ ๑ มากกว่าเด็กที่เป็นไข้เลือดออก และจากการจราจร ซึ่งในรอบ ๑๐ ปี ที่ผ่านมาระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๖๐ มีเด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เสียชีวิตจำนวน ๙,๕๗๔ คน เฉลี่ยเดือนละ ๘๐ คน ส่วนมากเกิดจากการลงไปเล่นน้ำหรือพลัดตกลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อขุด อ่างน้ำ เพราะบ่อน้ำมักจะมีลักษณะที่ลาดชันและลึก ซึ่งบางแห่งไม่มีการสร้างรั้วหรือติดป้ายหรือมีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ ปัญหาจากภัยทางน้ำนอกจากจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตและเกิดความพิการโดยไม่สมควรแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจัยสำคัญของการรอดชีวิตคือ การที่ผู้ประสบภัยต้องสามารถช่วยเหลือตนเองโดยสามารถลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ และสามารถให้การช่วยเหลือผู้ที่กำลังจะจมน้ำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในระยะเวลารวดเร็ว จึงจะสามารถช่วยลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต งานการแพทย์ฉุกเฉิน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลสำนักขาม จึงจัดทำโครงการป้องกันเด็กจมน้ำ ให้แก่เยาวชนในพื้นที่เทศบาลตำบลสำนักขาม กิจกรรม “ลอยตัวได้ ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย” โดยจัดให้มีการสอนการลอยตัว การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น(ตะโกน ยื่น โยน)ให้เยาวชน ซึ่งเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่เด็กและเยาวชนไทยทุกคนต้องได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยอันตรายทางน้ำ
  1. เด็กและเยาวชนสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
  2. ผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
1.00
2 ๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
  1. เด็กและเยาวชนสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
  2. ผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
1.00
3 ๓. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น(กะโกน ยื่น โยน)ตามหลักมาตรฐานสากล
  1. เด็กและเยาวชนสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
  2. ผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
1.00
4 ๔. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน
  1. เด็กและเยาวชนสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
  2. ผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรม “ลอยตัวได้ ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย”(1 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00              
รวม 0.00
1 กิจกรรม “ลอยตัวได้ ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยอันตรายทางน้ำ ๒. เด็กและเยาวชนสามารถลอยตัวและว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ ๓. เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเบื้องต้น(กะโกน ยื่น โยน)ตามหลักมาตรฐานสากล ๔. เด็กและเยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2565 09:24 น.