กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2565

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2565

ชุมชน ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

รหัสโครงการ 65-L2532-1-03 เลขที่ข้อตกลง 03/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 18 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน เมษายน 2565 ถึงเดือน กันยายน 2565

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19

วันที่ 11 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19  อสม.เดินเคาะประตูบ้าน เพื่อเชิญชวนติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนตามแผน กลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น มีจำนวน ดังนี้
หมู่ 9 บ้านราษฎร์พัฒนา  ภาพรวม ร้อยละ  88.79
    -กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป        ร้อยละ  97.67               ผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค ร้อยละ  100               หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ  100               อายุ 12-18 ปี  ร้อยละ  82.86               อายุ 19-59 ปี  ร้อยละ  87.5 หมู่ 10 บ้านสามซอย  ภาพรวม ร้อยละ  85.17
      -กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป        ร้อยละ  84.62               ผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค ร้อยละ  100               หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ  100               อายุ 12-18 ปี  ร้อยละ  74.65               อายุ 19-59 ปี  ร้อยละ  87.6

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา 2019 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย รายหมู่บ้าน -กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว 7 โรค หญิงตั้งครรภ์ อายุ 12-18 ปี 19-59 ปี 2.วิเคราะห์ข้อมูล จำแนกชนิดวัคซีน จำนวนที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีน เข็ม 1 เข็ม 2 เข็ม 3 และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 3.บริหารจัดการวัคซีน จัดทำแผนการฉีดวัคซีน (เข็ม 1 และเข็มกระตุ้น) 4.สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ วัน เวลา สถานที่ ฉีดวัคซีน 5.เดินเคาะประตูบ้าน เพื่อเชิญชวนติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มาฉีดวัคซีนตามแผน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

2. เสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ในการออกมาตรการทางสังคม มีการกำหนดกฎระเบียบในการเข้ารับบริการในสถานที่ชุมชน หน่วยงานราชการ ให้งดบริการสำหรับบุคคลไม่ปฏิบัติตามมาตรการ เช่นคนไม่ฉีดวัคซีน ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ตลอดจนการปรับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสอนศาสนา มัสยิด ร้านชำ ให้เป็นพื้นที่ COVID Free Setting ให้เอื้อต่อการใช้พื้นที่อย่างปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติเป็นอย่างดี ส่งผลให้ประชาชนยอมรับและมีการปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ในการออกมาตรการทางสังคม เพื่อออกกฎระเบียบ
เชิงบังคับในการเข้ารับบริการในสถานที่ชุมชน ดังนี้ -งดบริการสำหรับบุคคลไม่ปฏิบัติตามมาตรการ สำหรับการเข้ารับบริการในที่สาธารณะ หน่วยงานราชการ
-การปรับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสอนศาสนา มัสยิด ร้านชำ ให้เป็นพื้นที่ COVID Free Setting

  • photo

 

0 0

3. 2 สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคโควิค 19

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุม โรคโควิค -19 อสม.และเครือข่าย จำนวน 14 คน มีองค์ความรู้สามารถไปดูแล แนะนำส่งเสริมประชาชนในชุมชนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมป้องกันโรค ในมาตรการส่วนบุคคล Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล)มาตรการสำหรับองค์กร(COVID Free Setting)ที่เกี่ยวข้อง กับศพด. มัสยิด ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมให้ความรู้“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยสมุนไพรไทย”ในการดูแลตนเองเบื้องต้นได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ให้ความรู้อสม.และเครือข่ายเพื่อให้สามารถไปดูแล แนะนำส่งเสริมประชาชนในชุมชนให้มีความเข้าใจใน มาตรการ การควบคุมป้องกันโรค สามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  ดังนี้       -มาตรการส่วนบุคคล Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล)       -มาตรการสำหรับองค์กร(COVID Free Setting) ที่เกี่ยวข้อง (ศพด. มัสยิด ร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร) 2.ให้ความรู้ “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยสมุนไพรไทย” 3.จัดซื้อวัสดุควบคุมป้องกันโรคเพื่อสนับสนุนเครือข่ายให้ดำเนินการปฏิบัติตามแนวทางมาตรการป้องกันโรค ส่วนบุคคลและพื้นที่ COVID Free Setting (อสม. หมู่บ้าน ศพด. รร.สอนศาสนา มัสยิด)

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 3 3                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 18,950.00 18,950.00                  
คุณภาพกิจกรรม 12                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

การจัดทำโครงการล่าช้า ระยะเวลาไม่เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ เนื่องจากชุมชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงการปรับตัวเข้าสู่ภาวะสถานะการณ์ปกติของการระบาดของโรคอุบัติใหม่ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

เนื่องจากโรคไวรัสโคโรน่า เป็นโรคอุบัติใหม่ แนวทางปฏิบัติในการควบคุมป้องกันโรคมีการเปลียนแปลงตลอดเวลา ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนเกิดความสับสน

เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
รพ.สต. สว.นอก.
ผู้รับผิดชอบโครงการ