กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2532-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินบำรุงสถานีอนามัย สว.นอก.
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 9 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต. สว.นอก.
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯ อบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 11 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 18,950.00
รวมงบประมาณ 18,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 106 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 394 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการแพร่ระบาดในวงกว้างไปทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศสำหรับประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างกว้างขวาง รุนแรงและต่อเนื่อง ทั้งด้านสุขภาพ ระบบบริการสาธารณสุข เศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงของประเทศศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา COVID-19 ทุกระดับ มีการบริหารจัดการทรัพยากรภายใต้ข้อจำกัดและขาดแคลน โดยพิจารณาอย่างรอบด้านทุกมิติและประสานเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การคิดมาตรการและข้อเสนอเชิงนโยบายในการปกป้องสุขภาพคนไทยทุกคน ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้นตามลำดับ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยถือได้ว่าสามารถบริหารจัดการวิกฤติโควิค – 19 ได้อย่างดีจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
การใช้แนวทางมาตรการการป้องกันควบคุมโรค เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัส การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 80 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นเกราะป้องกัน ในการลดความรุนแรงของโรค การเฝ้าระวังป้องกันโรค COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการฉีดวัคซีนและการดูแลเฝ้าระวัง การปฏิบัติตนอย่างเข็มงวด ด้วยมาตรการส่วนบุคคล มาตรการสำหรับองค์กร(COVID Free Setting) และ Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และการควบคุมป้องกันโรคพื้นที่ตำบลมาโมง จำนวน 2 หมู่บ้าน (หมู่ 9 บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ 10 บ้านสามซอย)ประชากร จำนวน 983 คน มีจำนวน 214 หลังคาเรือน จากสถานการณ์โรคโควิด–19 (ในเขตรับผิดชอบ)ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 33 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงกักตัวที่ HQ จำนวน 111 ราย ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว ร้อยละ 88.44ดังนั้น เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคโควิด –19ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลมาโมง จึงจำเป็นต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ตามแผนและแนวทางการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าบุคคลทั่วไป การเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน นำมาตรการส่วนบุคคล มาตรการสำหรับองค์กร มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรค COVID-19 และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ในแบบวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างปกติสุข ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ไม่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่

33.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

786.00 80.00
3 เพื่อเสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

บุคคลในครอบครัว ชุมชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

786.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,950.00 3 18,950.00
22 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ด้วยวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19 0 6,200.00 6,200.00
3 พ.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 2 สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนและเครือข่าย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคโควิค 19 0 12,750.00 12,750.00
3 พ.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 เสริมพลังให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการส่วน บุคคล มาตรการสำหรับองค์กร มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค COVID-19 สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ในแบบวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างปกติสุข 2.ลดการเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 00:00 น.