กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตำบลเกาะจัน 2565
รหัสโครงการ 2565-L3001-01-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะจัน
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,735.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาหลา เจ๊ะอูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการของเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ ๑๒.๕-๑๕ มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ ๐.๔-๐.๕ มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ ๐.๕-๑.๐ มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต หากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์น้อย มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า และสติปัญญาต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดและหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจันในแต่ละปี
ปีพ.ศ ๒๕๖๒ จำนวนหญิงตั้งครรภ์ 112 คน มีภาวะซีดครั้งที่ 1 ร้อยละ ๑5 ซีดครั้งที่ 2 ร้อยละ ๒1 และซีดก่อนคลอดร้อยละ ๒2 ปีพ.ศ ๒๕๖๓ จำนวนหญิงตั้งครรภ์ 89 คน มีภาวะซีดครั้งที่ 1 ร้อยละ ๑3 ซีดครั้งที่ 2 ร้อยละ 18 ซีดก่อนคลอดร้อยละ ๒0 ปีพ.ศ ๒๕๖๔ จำนวนหญิงตั้งครรภ์ 97 คน มีภาวะซีดครั้งที่ 1 ร้อยละ ๑7 ซีดครั้งที่ 2 ร้อยละ 21 ซีดก่อนคลอดร้อยละ 21 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กรมอนามัยกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นกว่าเดิมจากปัญหาดังกล่าว เพื่อเผ้าระวังและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ที่ยังไม่ตั้งครรภ์ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและสามารถปฏิบัติตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น เพราะหญิงวัยเจริญพันธ์ มีโอกาสตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ โดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเองอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะจัน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตำบลเกาะจัน ปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

ร้อยละ ๙๐ ของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

0.00
2 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจภาวะซีด 2 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ก่อน ๑๒ สัปดาห์

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้อันตรายจากภาวะซีดและแนวทางการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และสาธิตการปฏิบัติตัวและการประเมินตนเองในขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีด(15 เม.ย. 2565-31 ส.ค. 2565) 0.00          
รวม 0.00
1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้อันตรายจากภาวะซีดและแนวทางการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และสาธิตการปฏิบัติตัวและการประเมินตนเองในขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราโลหิตจาง(ภาวะซีด)ในหญิงตั้งครรภ์ ๒. การจัดบริการให้สามีเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมารดาและบุตรทำให้สามีมีความ ภาคภูมิใจที่มีส่วนทำให้ลูกในครรภ์มีความปลอดภัย
๓. ความรักในครอบครัวที่มีต่อหญิงตั้งครรภ์นำพาให้เกิดความมือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนอย่างจริงจัง โดยสามีเป็นผู้นำในการป้องกันปัญหาทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมากขึ้น ๔. ความรักในครอบครัวเสริมแรงให้หญิงตั้งครรภ์ สนใจดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลูกในครรภ์ คลอดปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565 09:55 น.