โรงเรียนต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ตำบลช้างเผือก
ชื่อโครงการ | โรงเรียนต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ตำบลช้างเผือก |
รหัสโครงการ | 65-L2475-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลจะแนะ |
วันที่อนุมัติ | 15 มีนาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - 31 สิงหาคม 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | 21,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโซฟีย๊ะ วาเต๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.997,101.573place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นดังนั้นโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำการโครงการ “สุขภาพดีวิถีไทย” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากสมุนไพรเช่น ยาดมสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การนวด การใช้ท่าฤๅษีดัดตน เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า ดังนั้น งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลจะแนะ ได้เล็งเห็นในส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ในการสร้างโรงเรียนต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพร เพื่อวิธีการดูแลสุขภาพ และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับการแพทย์แผนไทย มีสุขภาพดี และพัฒนางานการแพทย์แผนไทยในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างโรงเรียนต้นแบบการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพร ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสมุนไพร นำไปใช้ในโรงเรียนและครัวเรือน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย จำนวนโรงเรียนต้นแบบการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพร |
2.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
5 เม.ย. 65 | กิจกรรมให้ความรู้การปลูกสมุนไพรและส่งเสริมการสร้างโรงเรียนต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ | 100 | 21,600.00 | - | ||
รวม | 100 | 21,600.00 | 0 | 0.00 |
วิธีการดำเนินโครงการ ๑. จัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒. จัดทำหนังสือขออนุมัติจัดกิจกรรม ๓. จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและเดินหนังสือในชุมชนล่วงหน้า๒อาทิตย์ก่อนดำเนินโครงการ ๔. แจ้งแผนการดำเนินงานและกำหนดการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ ๕. จัดทำสื่อการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ๖. ให้ความรู้การปลูกสมุนไพรและส่งเสริมการสร้าง หมู่บ้านต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ๗. ประเมินผลการดำเนินงาน
๑. นักเรียนสามารถทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
๒. นักเรียนมีความรู้เรื่องการปลูกสมุนไพร และสรรพคุณสมุนไพร
๓. โรงเรียนต้นแบบการการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ นำสมุนไพรมาทำผลิตภัณฑ์และนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565 11:40 น.