กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ปี 2565
รหัสโครงการ 65 - L4138 – 02 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจิตอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 3 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 18,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสนานี มามุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18,300.00
รวมงบประมาณ 18,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุในชุมชน ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน โดยมีญาติหรือผุ้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากภาวะเสื่อมทางร่างกายของผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติทั่วไป และมักจะไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางสาธารณสุข ส่งผลให้ขาดการดูแล รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล จากผลการดำเนินงานผู้สูงอายุที่ผ่านมาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ทำให้ทราบถึงปัญหาในการเข้าถึงบริการเสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพ และขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ขาดโอกาสในการรับการสร้างเสริมและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดี จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้แก่ การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคอุบัติใหม่ (โควิด -19 ) โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครออบครัวด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลฟื้นฟูผู้พิการเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องนี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ทั้ง ที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ด้วยเหตุนี้ หากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและชุชนสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ มีระบบการเฝ้าระวังดุแลปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา มีผู้สูงอายุจำนวน 345 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่ติดเตียง จำนวน 0 คน ผู้สูงอายุที่ติดบ้านจำนวน 16 คน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่มีบริการด้านต่างๆ ยังเข้าไปไม่ถึง แต่เนื่องจากยังคงมีองค์กรต่างๆ ในชุมชนอีกมากมาย หากมีการพัฒนาศักยภาพให้สามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุในชุมชน ดังนั้นทางกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลยะลาและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรวมทั้งแกนนำผู้ดูแลในพื้นที่ตำบลยะลา เล็งเห็นความสำคัญต่อสุขภาพผู้สูงอายุรวมทั้งผลกระทบที่จะตามมา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการดูแล การบริการทางสาธารณสุขให้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมสุขภาพกายและจิตดีขึ้น ลดภาวะพึ่งพิง

เข้ารับการอบรม มีความรู้ และมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการสร้างเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยผู้ดูแล ตลอดจนอาสาสมัครผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง

ครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้าน
ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาระบบการดูแล การบริการทางสาธารณสุขให้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมสุขภาพกายและจิตดีขึ้น ลดภาวะพึ่งพิง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการสร้างเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยผู้ดูแล ตลอดจนอาสาสมัครผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ 0.00 18,300.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ 60.00 18,300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ
    เป้าหมาย  กลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุระยาว  จำนวน  10  คน             ชมรมอสม.ตำบลยะลา        จำนวน  40  คน             แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุตำบลยะลา  จำนวน  10  คน             รวม ทั้งหมด 60 คน
    1. นำเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา     2.จัดทำโครงการ เสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา     3.ประสานงาน วิทยากร     4.กำหนดวันและเวลาที่จะดำเนินการ จัดกิจกรรม     5.สำรวจและตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงผู้เข้ารับการอบรม (ตรวจATK) ก่อนรับการอบรมในกลุ่มเป้าหมาย     6.ดำเนินการตามโครงการที่ีวางไว้ ร่วมกับหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง     7.สรุปผลการดำเนินโครงการ
    8..นำเสนอผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ขั้นดำเนินการ
1. จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะการดูแลที่ถูกต้อง 2. กลุ่มเป้าหมายสามารถสาธิตการดูแลได้ดูต้องโดยการสาธิตกลับเพื่อประเมินความรู

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้ มีทักษะ สามารถให้การดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องและมีศักยภาพ
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ลดภาวะซึมเศร้าได้
  3. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีเครือข่ายและระบบการดูแลผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2565 15:27 น.