กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวที่บ้าน Outpatient with Self Isolation
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือแราแง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีฮา เด่นอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019ซึ่งจากสถิติผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวน 214,851,389ราย โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล รัสเซีย และอังกฤษ ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น ผู้ติดเชื้อทั้งหมด จำนวน 3,377,410 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร(ข้อมูล ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่มา:เวปไซด์กรมควบคุมโรค) ในส่วนจังหวัดปัตตานี ระลอกใหม่ พบผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 8,142 ราย โดยอำเภอที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ อำเภอเมือง จำนวน 3,468 ราย อำเภอหนองจิก จำนวน 772 ราย อำเภอโคกโพธิ์ จำนวน 720 ราย อำเภอสายบุรี จำนวน 642 ราย และอำเภอยะรัง จำนวน 525 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2565 ที่มา:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี) ทั้งนี้อำเภอกะพ้อ มีผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด จำนวน 116 ราย แยกเป็นตำบลปล่องหอย มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน 55 ราย รองลงมา คือตำบลตะโละดือรามัน และกะรุบี จำนวน 36 และ25 รายตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่มา:โรงพยาบาลกะพ้อ)
ซึ่งปัจจุบัน อัตราการเสียชีวิตยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่มีการระบาดของเดลตามาก เนื่องจากโอมิครอนมีความรุนแรงของโรคน้อย
จากสถานการณ์ข้างต้น กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการประกาศให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เตรียมประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น ใช้หลักการเจอ จ่าย จบ เมื่อประเมินแล้วพบว่ามีภาวะเสี่ยง จะให้ทำการรักษาที่ Home Isolation, Hotel Isolation, Community Isolation และ Hospitel แต่หากมีอาการรุนแรง จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่หากประเมินแล้วพบว่าไม่มีภาวะเสี่ยง มีมาตรการเสริมจากเดิม คือ ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (Outpatient with Self Isolation) ซึ่งจะมีการติดตามอาการ 48 ชั่วโมง ถ้าอาการมากขึ้นให้ปฎิบัติตามแนวทางเวชปฎิบัติ (CPG)ซึ่ง รพ.สต.จะรับหน้าที่หลักในการดูแลผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (Outpatient with Self Isolation) จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการทุกวัน มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง มีอุปกรณ์ตรวจประเมินอาการของผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทางรพ.สต.บ้านอุแตบือราแง เห็นความสำคัญในการชี้แจงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิดที่เปลี่ยนแปลงไป แก่แกนนำ และตัวแทนครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแนวทางการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถะปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้แกนนำชุมชน และตัวแทนครัวเรือนทราบแนวทางการดูแลผู้ป่วยแนวใหม่

แกนนำชุมชน และตัวแทนครัวเรือนทราบแนวทางการดูแลผู้ป่วยแนวใหม่ เข้าร่วม ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้รพ.สต.มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการตรวจประเมินผู้ป่วยนอกแยกกักตัว(Outpatient with Self Isolation)

รพ.สต.มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการตรวจประเมินผู้ป่วยนอกแยกกักตัว(Outpatient with Self Isolation) เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่ม (Outpatient with Self Isolation) ในพื้นที่ได้รับอุปกรณ์ตรวจประเมิน

ประชาชนกลุ่ม (Outpatient with Self Isolation) ในพื้นที่ได้รับอุปกรณ์ตรวจประเมิน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 00:00 น.