กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัส โคโรนาCovid -19
รหัสโครงการ 65-L3321-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 31 ส.ค. 2565 16,800.00
รวมงบประมาณ 16,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคโควิด - 19 (Coronavirus Disease 2019; COVID-19) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เริ่มมีการระบาดจาก เมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน ที่ลุกลามขยายการระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) สามารถติดต่อเข้าสู่คน ผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการศึกษาการติดเชื้อจากไวรัส พบว่าคนติดเชื้อคนหนึ่ง จะสามารถแพร่เชื้อ ไปให้คนอื่นได้ราว2 -6 คน ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน พบว่าการระบาดของโรค โควิด - 19 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก มีผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลก 179 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 3.89 ล้านราย (Worldmeter Covid, 2021) สำหรับประเทศไทย มีการระบาดของโรคเป็นอันดับ 76 ของโลกโดยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 228,539 ราย มีรายใหม่ 3,174 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 189,777 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 37,018 ราย เสียชีวิต 1,744 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.76 คน (กรมควบคุมโรค, 2564 ) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ของจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 พบผู้ติดเชื้อ จำนวน130 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,089 ราย เสียชีวิตสะสม7 รายและของพื้นที่ตำบลปันแต พบผู้ป่วยจำนวน55 ราย
การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน สุขภาพภาคประชาชน มีการกระจายอยู่ทุกหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการสุขภาพของชุมชนอย่างเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น สำหรับตำบลปันแตมี อสม. จำนวน 114 คน โดยภาพรวม อสม. 1 ท่าน รับผิดชอบ 16 หลังคาเรือนการปฏิบัติงานของ อสม. ตำบลปันแต ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด – 19 อสม.ได้มีส่วนร่วมเป็นกำลังหลักในการดำเนินงานสถานการณ์โรคโควิด - 19 อสม. มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลประชาชนชนในพื้นที่ เป็นกำลังหลักในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค โควิด - 19 ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีกิจกรรม “อสม. เคาะประตูบ้าน” ให้ความรู้ วิธีการป้องกันโรค ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป สังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัยของกลุ่มเสี่ยง (Home Quarantine) ของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน รวมไปถึงการประสานงานเตรียมความพร้อมของชุมชน การประสานงานต่อเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมการรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ภารกิจหลักของอสม. ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ได้แก่ การเคาะประตูบ้านรณรงค์ ให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร โรคโควิด-19 การนำนโยบายการเฝ้าระวังและป้องกันโรคสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา ที่สอดคล้องกับพื้นที่ การเป็นผู้นำในการปฏิบัติพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ร่วมสร้างมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การเตรียม อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและป้องกันโรค การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรค การรณรงค์ขับเคลื่อนการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคและ การติดตามเยี่ยมสังเกตอาการที่บ้านของกลุ่มเสี่ยง
จากการปฏิบัติงานของ อสม. ตำบลปันแต ต่อสถานการณ์โรคโควิด - 19 ดังกล่าว ล้วนต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างของ อสม. การประสานงานที่ดี ความอดทน และความทุ่มเทเสียสละของ อสม. ต่อส่วนรวม ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในชุมชนเป็นไปด้วยดี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามการที่ อสม. จะสามารถปฏิบัติภารกิจด้านการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น องค์ความรู้ หรือความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 การรับรู้บทบาท แรงจูงในในการปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. ด้านการปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนาCovid -19 ในการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ต่อการวางแผนการควบคุมและป้องกันโรคโควิด - 19 และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในชุมชน และเป็นแนวทางในการวางแผนการปฏิบัติงานของ อสม. ด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุข ของพื้นที่

ร้อยละ95ของอสม.ต.ปันแต เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจ

95.00
2 2.เพื่อให้ อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้

ร้อยละ80ของอสม.ต.ปันแต  เข้ารับพัฒนาศักยภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ และทักษะในการดูแลประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นใจสามารถถ่ายทอดความรู้ สามารถจัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน/ตำบล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและพัฒนางานด้านสาธารณสุขในชุมชนให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองได้

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ(8 เม.ย. 2565-30 มิ.ย. 2565) 16,800.00        
รวม 16,800.00
1 กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 114 16,800.00 1 16,800.00
1 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมประชุมพัฒนาการจัดการโรคและภัยสุขภาพ 114 16,800.00 16,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ทำงานได้รวดเร็ว ทั่วถึงและสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0
  2. ประชาชนเข้าถึงข่าวสารสุขภาพและเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2565 20:16 น.