กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
รหัสโครงการ 65-L5205-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 34,105.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาพร ชูเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเติปโตเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับวัย มีการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัย รวมถึงการได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ บุคคลในครอบครัวละบุคคลรอบ ๆ ข้างให้การดูแลเอาใจใส่ สร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้กับเด็ก ย่อม ส่งผลให้เด็กวัยนี้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นประชากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการถือเป็นปัจจัยหลักต่อการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวการณ์เจริญเติบตที่ไม่เป็นไปตามวัย โรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน ขาดสารไอโอดีน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วยนมแม่ที่ลดลง การให้เด็กรับประทานอาหารตามวัยเร็วเกินไป ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ความเป็นจริงแล้วเด็กวัยนี้ต้องมีความพร้อมในการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน แต่จากแบบประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ทั้งหมด 138 คน พบว่า มีนักเรียนที่มีนำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน 117 คน  คิดเป็นร้อยละ 84.78  มีนักเรียนที่มีนำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 10.87 มีนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.35
ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเป็นไปตามวัย จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ขึ้น เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่เหมาะสมกับวัยและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง(7 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 34,105.00            
รวม 34,105.00
1 เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 63 34,105.00 0 0.00
7 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย ก่อนการจัดอบรม 15 0.00 -
7 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม 15 31,275.00 -
7 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามประเมินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยการใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัย เดือนละ 1 ครั้ง (ตลอดโครงการ) 15 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 18 2,830.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กมีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนดพร้อมทั้งมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  2. เด็กได้รับการเฝ้าระวังและติดตามผลที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
  3. ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย
  4. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2565 10:10 น.