กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ L5300-65-2-26
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมนักวิ่งสนามกลาง
วันที่อนุมัติ 15 เมษายน 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 36,220.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุชาดา รักเมือง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 53.34
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 66.67
  3. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 75.00

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญหาเศรษฐกิจ และอื่น ๆ โดยที่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่น ยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีง่ายๆและได้ผลจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก ซึ่งการเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสะดวก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ร่างกายได้รับแรงกระแทกจากการเดินน้อยมาก การเดินส่งผลดีต่อสุขภาพ ประโยชน์ของการวิ่งเหมือนกับการเดิน ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพกาย หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดความเครียด และยังมีผลป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ การวิ่งที่ดีต้องมีการฝึกฝน การวิ่งจะเผาผลาญพลังงานมากกว่าการเดิน ประโยชน์ของการวิ่งเหมือนกับการเดินออกกำลังกายแต่ข้อดีของการออกกำลังกายโดยการวิ่งคือใช้เวลาน้อยกว่าและมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการเดิน ข้อเสียของการวิ่งเมื่อเทียบกับการเดินคือมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อได้บ่อยกว่าการเดิน แต่ถ้าหากผู้ที่ออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่ง รู้วิธีการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธี รู้วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายแล้วนอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจแล้วก็จะทำให้บุคคลนั้น ๆ มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตดี ห่างไกลโรคเรื้อรัง ชมรมนักวิ่งสนามกลางจึงได้จัดทำโครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคให้กับผู้ที่สนใจการออกกำลังกายแบบเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดียิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่สามารถลดภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนในตำบลคลองขุดมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งเพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของคนเข้าร่วมกิจกรรม และมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เห็นพัฒนาการของความแข็งแรงของสมรรถภาพทางด้านร่างกายด้วย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน-วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน-วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 90 ของสมาชิกชมรม ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดสภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายได้ถูกต้อง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง