กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2565 รพ.สต.บ้านกูบู
รหัสโครงการ 65-L2486-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2565
งบประมาณ 9,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางน้ำฝน พรหมน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติ พบว่าสาเหตุการป่วยด้วยมะเร็งเต้านมพบอัตราป่วยร้อยละ 28.26 พบมากในสตรีอายุ 35 – 60 ปี รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด ของมะเร็งทั้ง 2 ชนิด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) โดยทำ Screen ในผู้หญิงอายุ 35 – 64 ปี พบว่า การทำ Pap Smear ทุกปีๆละ 1 ครั้ง หรือทุกๆ 2 ปีครั้ง หรือทุกๆ 3 ปีครั้ง จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 และการทำ Pap smear ทุกๆ 5 ปีครั้ง จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 84 ดังนั้น การให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต รวมไปถึงการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราป่วย และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้
จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 ในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 265 คน คิดเป็นร้อยละ 25.09 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู จัดทำโครงการให้ความรู้การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2565 ขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจ PapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาสตรีที่มีความผิดปกติของมะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักในชุมชน และกระตุ้นให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดย จนท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

ชุมชนเกิดความตระหนักและประชาชนทั่วไป/กลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองฯ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,200.00 0 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 ติดตามนัดกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่หน่วยบริการ 0 9,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตรา การเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2565 00:00 น.