กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลโคกสะตอ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซีตีคอลีเย๊าะ เปาะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30,850.00
รวมงบประมาณ 30,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 273 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่มีการระบาดรุนแรงและมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการรายงานการเฝ้าระวังของกองระบาดวิทยา นอกจากนี้ยังพบว่ายุงสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะมีตลอดทั้งปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต้องมีแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ
สำหรับสถานการณ์และความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ยังมีการเกิดโรคในพื้นที่ทุกปี ในปี ๒๕60 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 85.56 ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕61 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 341.82 ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖2 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น ๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 676.4 ในปี ๒๕๖3 ไม่พบ และในปี 2564 ผู้ป่วยทั้งสิ้น 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 174.37 ต่อแสนประชากร โรคชิคุนกุนย่า พบผู้ป่วย ปี ๒๕๖๑ จำนวน ๒๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๔๑.๘๒ ต่อแสนประชากร และอัตราการป่วยด้วยไข้มาลาเรีย 3 ปี ย้อนหลัง ในปี 2562 มีผู้ป่วย 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 728.16 ต่อแสนประชากร ในปี 2563 มีผู้ป่วย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 242.72 ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖4 พบผู้ป่วยทั้งหมด 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 174.37 ต่อแสนประชากร ซึ่งส่วนมากมีการระบาดของโรคนี้อยู่ในช่วงเข้าฤดูฝนของทุกๆปีดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีการจัดทำโครงการ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนร่วมมือร่วมใจในการควบคุมกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยการดำเนินการจัดกิจกรรมในชุมชน การให้ความรู้ความเข้าใจ ร่วมรณรงค์และควบคุมโรคโดยการทำลายแหล่งเพาะยุงลายบริเวณรอบบ้านที่พักอาศัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ๒. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan)     ๑. ตรวจสอบ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ๕ ปีย้อนหลัง     ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินงานตามขั้นตอน
ขั้นดำเนินการ(Do)   ๑. เจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่ อสม และประชาชนผู้เข้าร่วมอบรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ   ๒. อสม. ติดตามและประเมิน HI และCI พร้อมกับให้สุขศึกษาทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ   ๓. ผู้นำศาสนาประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ที่มัสยิดทุกวันศุกร์ - ทำสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
- รณรงค์ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และออกพ่นหมอกควันกำจัดยุ่งตัวแก่ในหมู่บ้าน
สถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานราชการในชุมชน - แจกสารเคมีทรายอะเบทให้กับประชาชนที่เข้าอบรม - คัดกรองหาเชื้อไข้มาลาเรียในพื้นที่เสี่ยง ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check)     ๑. สรุปและประเมินผลโครงการตามตัวชี้วัด เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖5 -ประเมินผลจากการติดตามอัตราการป่วยด้วยโรคโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ -ประเมินผลจากการติดตามค่า HI และ CI ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ     ๒. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑. กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดย อสม.และประชาชนทุกวันศุกร์ ๒. อสม.สามารถแจ้งข่าวแก่เจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ๓. เมื่อพบผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ สามารถพ่นหมอกควันทันที

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
๒. เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2565 11:46 น.