กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี เริ่มที่ซี่แรก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลโคกสะตอ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอลัดดา แดเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 เม.ย. 2565 11 เม.ย. 2565 31,500.00
รวมงบประมาณ 31,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรค มีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน คือ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้เป็นมืออาชีพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน จากผลการสำรวจสถานการณ์ข้อมูลอัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็ก 6 เดือน – 3 ปี จังหวัดนราธิวาส ในปีงบประมาณ 2562 - 2564 พบว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุอยู่ที่ร้อยละ 76.87, 79.66, 69.30 และ 67.54 ตามลำดับซึ่งสูงกว่าในระดับประเทศมาก

ในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปากมิใช่การกําจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้นั่นคือให้ความสําคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคซึ่งดีกว่าการรักษา เพราะกระทําในสภาพปกติไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในการปวดฟัน ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่เสียเวลา ในการรักษา ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาและที่สําคัญ คือไม่ต้องสูญเสียฟัน เพื่อให้สามารถป้องกันปัญหาตั้งแต่แรกเริ่ม (Early detection) และจักให้มีกิจกรรมที่ผสมผสานทั้งการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาโรคให้ครอบคลุม เพื่อลดปัญหาฟันแท้ซี่แรกผุ และสามารถเก็บรักษาฟันไว้เพื่อการใช้งานในอนาคต
ดังนั้น เพื่อให้มีการแก้ปัญหาทันตสุขภาพเฉพาะพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะตอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ในเขตพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการ“หนูน้อยฟันดีเริ่มที่ซี่แรก” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการส่งเสริมทันตสุขภาพป้องกันโรค และรักษาโรคฟันผุ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถและมีศักยภาพในการดูแลทันตสุขภาพด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี มีทันตสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ๒. เพื่อให้ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง (ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลรือเสาะ) ๓. เพื่อให้เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชทุกคน (ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลรือเสาะ)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบทราบ
  4. ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคฟันผุ
  5. ประเมินผล ติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี มีฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง                                              ๒. ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง                                              ๓. เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2565 10:07 น.