กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ก้าวไกลร่วมใจปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน
รหัสโครงการ 65-L2488-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 32,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลีย๊ะ วาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 373 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1507 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน

        ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ โรงพยาบาลบาเจาะ และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม.ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการ และประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการ อสม. ก้าวไกลร่วมใจปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน ปีงบประมาณ 2565 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง 5 กลุ่มวัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงรุก

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการพัฒนาความรู้และทักษะ > ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและติดตามประเมินภาวะสุขภาพแก่ประชาชนแก่กลุ่มเด็กอายุ 0 – 5 ปี กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และกลุ่มประชาชนอายุ 30 – 60 ปี
  • ร้อยละ 95 ของเด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก

  • ร้อยละ 75 ของเด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์

  • ร้อยละ 90 ของหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดโดย จนท. และ อสม.

  • ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิต

  • อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

  • ควบคุมโรคระบาด โควิด 19 ให้สงบภายใน 21 – 28 วัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปฏิบัติงานสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่ อสม.(1 เม.ย. 2565-30 เม.ย. 2565) 8,600.00            
2 ปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน(1 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 24,000.00            
รวม 32,600.00
1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปฏิบัติงานสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่ อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,600.00 1 8,600.00
1 - 30 เม.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปฏิบัติงานสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่ อสม. 40 8,600.00 8,600.00
2 ปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1918 24,000.00 1 24,000.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน 1,918 24,000.00 24,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนมีความพร้อมในการบริการเชิงรุก ในด้านการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน

  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2565 12:03 น.