กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตั้งครรภ์ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปลอดโรคไวรัสโคโรน่า 2019
รหัสโครงการ 65-L2971-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนิดา สาโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2564 30 ก.ย. 2565 15,200.00
รวมงบประมาณ 15,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางมหันตภัยใหม่ของโลก นั้นคือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้ประชาชนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากการติดเชื้อจำนวนมากมายมหาศาล รวมไปถึงจุดเล็กๆในแผนที่โลก หมู่บ้านที่รับผิดชอบในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ร่วมด้วยซึ่งโรคนี้เกิดได้ ในทุกกลุ่มทุกเพศและทุกวัย รวมไปถึง 'หญิงตั้งครรภ์' นับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่พบการติดเชื้อ และเสียชีวิต ได้เพิ่มมากกว่ากลุ่มอื่น จากการศึกษา พบว่าผลของโรคโควิด-19 ต่อการตั้งครรภ์ ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายระบบได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกําหนด ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองทารก ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเท่านั้นตกเลือดหลังคลอดได้ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ติดเชื้อรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ และเสียชีวิต นอกจากนี้ยังพบ มีการทําลายของระบบประสาทและสมอง ทําให้มีอาการของระบบประสาทที่รุนแรง และยังส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนในทารก ได้แก่ เกิดการแท้งและเสียชีวิตในครรภภ์หรืออาจพบทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนดได้ 15.1% นอกจากนี้การตั้งครรภ์ทําให้โรคโควิด-19มีความรุนแรงมากขึ้น ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19มีอัตราการรักษา ในแผนก ผู้ป่วยวิกฤติสูงกว่าคนปกติ 3 เท่า และอัตราการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์ สูงกว่า 1.7 เท่าและยังมีการศึกษาอีกว่าการติดเชื้อโควิด-19จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยการตรวจเลือดจากสายสะดือ น้ำคร่ำ น้ำนม สารคัดหลั่งในช่องคลอด และอุจจาระทารก พบว่าอัตรา การติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารกพบได้ ร้อยละ 3.2-5.3
ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ การป้องกันหญิงตั้งครรภ์ไม่ให้ติดเชื้อ โควิด-19และมีการฝากครรภ์ ตามเกณฑ์จึงสำคัญ ที่สุด พร้อมมีความรู้ในการดูแลครรภ์ตนเอง ให้มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด สุขภาพดี และแม่ปลอดภัยจากการคลอดและโรคโควิท19 ซึ่งระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ กระทรวงสาธารสุขนั้น ให้มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 30-34 สัปดาห์ และครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 36-40สัปดาห์ในแต่ละครั้งของการนัดตรวจครรภ์ จะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์รวมไปถึงการตรวจคัดกรองโควิท 19 ด้วยชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วนAntigen Test Kit (ATK) เพื่อให้ตลอดการตั้งครรภ์ ไม่มีการติดเชื้อโควิท 19 และเป็นหญิงตั้งครรภ์คุณภาพ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็งจึงได้ดำเนินโครงการ ตั้งครรภ์ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปลอดโรคไวรัสโคโรน่า 2019(Co-vid 19 ) ปีงบประมาณ 2565

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสมในช่วงที่มีการระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้  จากการทดสอบ pre-test , post-test (คำถามปลายเปิดและปลายปิด) 2.หญิงตั้งครรภ์ไม่มีการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019(co-vid 19)

0.00
2 2.มีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพการฝากครรภ์

1.อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75 2.ฝากครรภ์ครบ 5 ตามเกณฑ์ร้อยละ 60

0.00
3 3.ลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัยจากการคลอด

1.อัตราหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ร้อยละ 100
2.อัตราทารกแรกเกิดมีน้ำหนัก มากกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,200.00 1 15,200.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 เตรียมพร้อมคลินิกฝากครรภ์ปลอดโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 0 15,200.00 15,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมในช่วงที่มีการระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
  2. มีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพการฝากครรภ์
  3. ลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัยจากการคลอดและ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2565 00:00 น.