กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดเก็บน้ำมันทอดซ้ำ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,615.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทำไมน้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพเนื่องเพราะการใช้น้ำมันทอดด้วยความร้อน สูงๆ ระหว่างกระบวนการทอดเกิดการเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน ทำให้เกิดการแตกตัวของน้ำมันเป็นสารโพลาร์ในระหว่างการทอดอาหาร สารประกอบดังกล่าว เช่น กรดไขมันอิสระโมโนเอซิลกลีเซอรอล กรดไขมันทรานซ์ เป็นต้น ดังนั้น ปริมาณสารโพลาร์จึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดการเสื่อมสภาพของน้ำมันได้ และยิ่งเมื่อนำมาทอดซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น ส่งผลให้น้ำมันมีสีดำขึ้น มีกลิ่นเหม็นหืน มีฟองและเหนียวหนืดขึ้น ยิ่งทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารนั้นกลายเป็นสารพิษอันตรายโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ ตัวด้วยซ้ำ การใช้น้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยประชาชนทั้งผู้ขายอาหารและผู้บริโภคอาหาร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขเองก็ตระหนักว่าน้ำมันทอด ซ้ำที่ใช้ในการทอดอาหารมีสารโพลาร์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และอาจมีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง นอกจากคนกินจะเสี่ยงเป็นมะเร็งแล้ว คนขายก็เช่นกัน เนื่องจากไอระเหยของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงการทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ว่า ที่ผ่านมาหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารของ อย. และหน่วยเคลื่อนที่ฯ ส่วนภูมิภาค รวม 12 ศูนย์ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยของการใช้น้ำมันทอดอาหาร โดยเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดอาหารตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารโพลาร์โดยใช้เครื่อง มือวัดแบบรวดเร็ว และผลจากการเฝ้าระวังเก็บตัวอย่างน้ำม ันทอดอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหารทั่ว ประเทศ และกรุงเทพฯ 5 ปีย้อนหลัง พบว่าตกมาตรฐานเพิ่มขึ้นทุกปี ผลการเฝ้าระวังปี 2555 เก็บตัวอย่างทั้งหมด 5,995 ตัวอย่าง ตกมาตรฐานร้อยละ 9.91 โดยพบว่า ตกมาตรฐานในตลาดสดและตลาดนัดเป็นส่วนใหญ่ ผลจากการตรวจเฝ้าระวังพบว่า น้ำมันทอดอาหารที่มีสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนด เช่น ไก่ป๊อป แคปหมู ขนมฝักบัว มันฝรั่ง ไส้กรอก ลูกชิ้น และไก่ทอด เป็นต้น (http://www.thaihealth.or.th/Content/16460-น้ำมันทอดซ้ำ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย .html. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐) น้ำมันทอดอาหารเมื่อใช้แล้วต้องทิ้งให้ถูก ที่ใส่ถังรวบรวมไว้ ถ้าทิ้งลงแม่น้ำลำคลองผ่านไปตามท่อก็ทำให้ท่ออุดตัน แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ในยุคสมัยหนึ่งที่รัฐรณรงค์การใช้น้ำมันไบโอดีเซล ก็ส่งผลให้น้ำมันทอดซ้ำเหล่านี้ถูกจัดการอย่างเป็นระบบ น้ำมันใช้แล้วยังขายต่อเพื่อนำมาทำน้ำมันไบโอดีเซลได้อีก แต่เมื่อกระแสไบโอดีเซลแผ่วลง ปัญหาน้ำมันทอดซ้ำก็กลับมาสู่ปัญหาของสุขภาพอีกรอบ ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงลิ่ว น้ำมันพืชราคาแพงหูฉี่ แล้วพ่อค้าแม่ค้าที่ไหนเขาจะใช้น้ำมันเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทำให้ตนเองก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีก จากปัญหาดังกล่าว กอรปกับบทบาทหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๖๗ (๒)รักษาความสะอาดของถนนทางน้ำทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (๓) ปองกันโรคและระงับโรคติดต่อ (๗) คุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้โทษพิษภัยของการใช้นำมันทอดซ้ำ

 

2 ๒.เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอด

 

3 ๓.เพื่อช่วยรักษาด้านสิ่งแวดล้อม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจสถานประกอบการที่ใช้น้ำมันในการทอดอาหาร ๒. ประสานงานเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ท่ามะปราง รพสต.คลองยางแดง เพื่อจัดทำแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานการดำเนินการน้ำมันทอดซ้ำ ๓. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าชะมวง ๔. จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ตามโครงการ ๕. ขั้นดำเนินการ ๕.๑ ดำเนินการอบรมให้ความรู้ ๕.๒ การจัดเก็บน้ำมันทอดซ้ำ ๖.จัดทำเกียรติบัตรมอบให้กับผู้เข้าร่วมโครงการในการจัดเก็บน้ำมนทอดซ้ำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ประกอบการมีความรู้โทษพิษภัยของการใช้นำมันทอดซ้ำและร่วมกิจกรรมเก็บน้ำมันทอดซ้ำผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอดและช่วยรักษาด้านสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2560 14:16 น.