กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย11 สิงหาคม 2565
11
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวกลองกมล ทองเล็ก (เบนซ์)
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ผลการดำเนินงานเป็นดังนี้ 2.1 กิจกรรมการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยทั่วพื้นที่ หมู่ที่ 1 - 8 ต.ท่าโพธิ์
รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 11 – 15 สิงหาคม 2565, วันที่ 18 - 19 สิงหาคม 2565 และ วันที่ 23 สิงหาคม 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 8 วัน รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 – 31 สิงหาคม 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 8 วัน 2.2 กิจกรรมการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย กรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหรือโรคปวดข้อยุงลาย พ่นบริเวณบ้านผู้ป่วย รวมถึงรอบรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พ่นทั่วพื้นที่หมู่ที่ 1 – 8 ต.ท่าโพธิ์ (รวมทั้งตำบลมีประชาชนจำนวน 6,985 คน)
  • พ่นบริเวณบ้านผู้ป่วย รวมถึงรอบรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร  ผลการดำเนินงานพบว่าเคสผู้ป่วยในพื้นที่ จำนวน 3 ราย ได้รับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายด้วยการพ่นหมอกควัน และได้รับคำแนะนำในการปรังปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้าน (ใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์)
กิจกรรมรณรงค์การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย27 กรกฎาคม 2565
27
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวกลองกมล ทองเล็ก (เบนซ์)
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รณรงค์การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ร่วมกันเก็บขยะ จัดการสิ่งแวดล้อม แจกแผ่นพับความรู้การป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ใส่สารเคมีทรายอะเบทในภาชนะน้ำขัง สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ดำเนินการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ณ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการดำเนินงานเป็นดังนี้
1.1 ดำเนินการให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนราชการ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน รวมทั้งภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชุมชน  และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยร่วมกันเก็บขยะ จัดการสิ่งแวดล้อม แจกแผ่นพับความรู้การป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ใส่สารเคมีทรายอะเบทในภาชนะน้ำขัง สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ผลการดำเนินงานพบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 53 คน และผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายพบว่ามีครัวเรือนที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 1 ครัวเรือน จากครัวเรือนที่ได้รับการสำรวจทั้งหมด 22 ครัวเรือน ส่วนในพื้นที่หมู่อื่นๆ กลุ่มแกนนำชุมชนจะเป็นผู้นำทรายอะเบทและแผ่นพับความรู้ที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน