กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กตาดีกา ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L8422-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 412,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคนให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ พร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ เพราะการที่เด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอนั้น ทำให้เกิดผลดีหลายๆอย่าง และสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า อย่างไรก็ตามอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบัน การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เด็กมีปัญหา เรื่องโภชนาการการที่ไม่เหมาะสม และขาดสารอาหารสำคัญ ดังนั้นปัญหาการบริโภคอาหารของเด็กตาดีกาในตำบลจวบ ยังเป็นปัญหาอยู่ จากการสำรวจเด็กในปีที่ผ่านมา เด็กยังประสบเลือกกินอาหารไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กตาดีกา ต้องมีการส่งเสริมการเลือกอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่การสมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กตาดีกา ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัว และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 2. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก
  1. เด็กในตาดีกาได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหาร และพัฒนาการสมวัย
  2. เด็กในตาดีกาที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 300 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 10 โรงเรียน 0 240,000.00 240,000.00
9 ก.ค. 65 - 13 ส.ค. 65 2. กิจกรรมให้ความรู้ภาวะทุพโภชนาการ แก่ ผู้ปกครองของเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 2 ครั้ง 300 144,720.00 144,720.00
9 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ 0 28,000.00 28,000.00
รวม 300 412,720.00 3 412,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กในตาดีกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กในตาดีกา มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบดตสมวัย
  3. ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 00:00 น.