กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเด็กนักเรียน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 15 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 66,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต. ท่าชะมวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ยังขาด ความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ วุฒิภาวะ ทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายด้าน เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การแท้งและภาวะแทรกซ้อน การออกจากโรงเรียนกลางคัน การทอดทิ้งเด็ก เป็นต้น จากรายงานสถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นในประเทศไทย พบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเพิ่มขึ้นจากประมาณ 90,000 คน ในปี 2543 เป็น 104,289 คน ในปี 2558 ในจำนวนนี้เป็นการคลอดบุตร โดยวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 2,988 คน นอกจากนั้น วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดเป็นครั้งที่สองขึ้นไป มีมากถึง 12,702 คน หรือเท่ากับร้อยละ 12.2 ของการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-19ปี ทั้งหมด นอกจากนี้ ข้อมูลของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ยังพบว่า อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันด้วยเหตุสมรสในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2548-2555 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 เป็น 2.7 โดยในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มจากร้อยละ 5.1 เป็น 6.2 และกลุ่มนักเรียนมัธยมตอนปลายจากร้อยละ 4.2 เพิ่มเป็น 6.5 ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้ง ทำให้ในแต่ละปีสถานสงเคราะห์เด็กในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องอุปการะเด็กอ่อนมากถึงประมาณ 6,000 คนต่อปี และสถานการณ์ของตำบลท่าชะมวงย้อนหลัง ๓ ปี พบว่า ปี ๒๕๕๗ ประชากรวัยรุ่น ทั้งหมด ๘๐๑ คน ท้อง ๒๕ คนท้องไม่พร้อม จำนวน ๗ คน และอยู่ในสถานศึกษา จำนวน ๑ คนปี ๒๕๕๘ วัยรุ่นทั้งหมด 777 คน ท้อง จำนวน ๓๔ คนท้องไม่พร้อมจำนวน ๖ คน และอยู่ในสถานศึกษาจำนวน๑ คน ปี ๒๕๕๙ จำนวน วัยรุ่น ทั้งหมด ๗๘๗ คน ท้องจำนวน๓๕ คน ท้องไม่พร้อมจำนวน ๕ คน และอยู่ในสถานศึกษา จำนวน๑คน (ข้อมูลจาก คลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลรัตภูมิ) ผนวกกับสถานการณ์ของยาเสพติดในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากข้อมูล สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้จัดทำสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหายาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ พบว่ากลุ่มเยาวชน อายุ 15-๑๙ ปี เนื่องจากพบว่ากลุ่มนี้มีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งเรื่อการมีเพศสัมพันธุ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่เด็กมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องยาเสพติดจากสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และยาเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนเพราะมีผลกระทบในหลายๆด้านด้วยกันเช่น ภาระด้านการใช้จ่ายของประเทศที่ต้องดำเนินการรักษาผู้ป่วย การพัฒนาประเทศที่มีความล่าช้า ปัญหาสังคมและผลกระทบต่างที่เกิดขึ้นอย่างมากมายดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวงประกอบกับ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมาตรา๖๖ องค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและ๖๗ มาตรา (๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเด็กนักเรียน ขยายโอกาสในพื้นที่ตำบลท่าชะมวงเพื่อเป็นการกระตุ้น ป้องกันและสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และตระหนักในปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และอันตรายจากยาเสพติด

 

2 ๒.เพื่อลดปัญหาแลผลกระทบจากปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

3 ๓.เพื่อให้มีคลินิกปรึกษาในสถานศึกษา

 

4 ๔.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.นำปัญหาของการดำเนินงานของปีที่ผ่านมาปรับปรุงพัฒนาโครงการ ๒.เขียนโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ๓.จัดทำคู่มือการสอน แบ่งเป็นชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ขั้นดำเนินการ ๑.ประชุมหารือผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย ๑.ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือตัวแทนจำนวน ๑๐ โรง ๒.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลองยางแดง/ท่ามะปราง ๓.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงพยาบาลรัตภูมิหรือตัวแทนโรงพยาบาลรัตภูมิ เพื่อกำหนดและขอความร่วมมือ ดังนี้ - ขอเชิญเข้าร่วมโครงการ/ชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงาน - กำหนดแผนการสอนในเด็กนักเรียนชั้น ป.๕ และม.๒ ๒.จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ประกอบด้วย - โรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลท่าชะมวง - โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดงและท่ามะปราง - โรงพยาบาลรัตภูมิ
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
- กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ประสบการณ์ และตระหนักในปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสามารถลดปัญหาและผลกระทบจากปัญหาโรคติดต่อทางเพ bศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2560 15:39 น.