กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2503-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านซีโป
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.บัลกีส มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291,101.641place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 23,100.00
รวมงบประมาณ 23,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
20.00
2 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกระแสสังคมได้กล่าวถึงระบบการดูแลสุขภาพแบบอื่นนอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน หรือการแพทย์ทางเลือก เช่น ดนตรีบำบัด ธาราบำบัด เป็นต้น แต่เนื่องจากการแพทย์แผนปัจจุบันมิได้เป็นวิถีทางเดียวในการแก้ปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเพียงพอ และมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังเลือกใช้วิธีการรักษาพยาบาลแบบแผนโบราณหรือแบบพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ดูแลสุขภาพที่ีสำคัญอีกศาสตร์หนึ่ง หรือเลือกใช้บริการการรักษา 2 ศาสตร์ควบคู่กันไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้รูปแบบวิธีการรักษาโรคได้ด้วย แม้การแพทย์พื้นบ้านจะมิได้เป็นที่นิยม แต่ยังไม่สูญหายไปจากสังคมไทย เพราะความสัมพันธ์ระหว่างหมอพื้นบ้านกับชาวบ้าน เป็นความผูกพันด้วยความเชื่อในจิตสำนึกและความศรัทธาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ อีกทั้ง กระทรวงสาธารณสุขโดยสถาบันแพทย์แผนไทย ได้พัฒนางานการแพทย์แผนไทย ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขไทย โดยมีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยกระทรวงมีความมุ่งหมายนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิต การดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาล เช่น การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานรักษาตนเองเบื้องต้น การป้องกันโรคด้วยท่าบริหารฤาษีดัดตน การดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์ด้วยท่ามณีเวช การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การนวดด้วยตนเอง การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในท้องถิ่น จากเหตุผลดังกล่าว งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซีโป จึงเห็นถึงความสำคัญ และจัดทำโครงการ "ส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยสู่ชุมชน" ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยดังกล่าวแก่มารดาตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำไปรักษาตนเองเบื้องต้นอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้ดียิ่งขึ้น น้ำนมไหลสะดวกขึ้น ให้มารดาคืนสู่สภาพปกติ และแข็งแรงได้โดยเร็ว 2. ส่งเสริให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองในระยะหลังคลอดด้วยการแพทยืแผนไทยมากขึ้นและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยและมีการนำความรู้ไปประยุกต์ในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชน 4. เพื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกการแพทย์แผนไทยของ รพ.สต.บ้านซีโป 5. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรในท้องถิ่น สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพอง
  1. ร้อยละ 80 ของมารดาหลังคลอดในเขตรับผิดชอบได้รับการฟื้นฟุหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
  2. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด
  3. ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การแพทย์แผนไทยอย่างถูกต้อง
20.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กาารักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย(1 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 23,100.00            
รวม 23,100.00
1 กาารักษาสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 23,100.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบไอน้ำสมุนไพรมารดาหลังคลอด 20 8,600.00 -
15 พ.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ 10 3,000.00 -
15 พ.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป 50 11,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงหลังคลอดได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวด้วนวิธีการแพทย์แผนไทย
  3. ประชาชนได้รับความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยอย่างถูกต้องและมีการนำความรู้ไปประยุกต์ในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชน
  4. ประชาชนมารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2565 13:02 น.