กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ L1526-1-2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริฉัตร น้อยนาฎ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 222 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 1776 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  ให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะ  นำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
      ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหา โรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อม ทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่ เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสน ประชากร 2. -หมู่บ้านมีค่า HI ≤ 10     -สถานที่ราชการ ร.ร. , วัด มีค่า CI = 0     -หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิด ใน Generation ที่ 2
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่ เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี๒๕๖๔                                                                              ๒. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
3. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 4. หมู่บ้านมีค่า HI ≤ 10 5. สถานที่ราชการ ร.ร. , วัด มีค่า CI = 0 6. หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดใน Generation ที่ 2 ๑.ค่ารถแห่ประชาสัมพันธ์ จำนวน ๖ วันๆ ละ ๑,๒๐๐ บ. เป็นเงิน  ๗,๒๐๐ บ. ๒. ค่าใบปลิวประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑,๕๐๐ ใบๆ ละ ๑ บ. เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บ. ๓. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑*๓ ม. (รร. ๒, หมู่บ้าน ๖, ศพด. ๑, รพ.สต. ๑, วัด ๒) จำนวน ๑๒ผืนๆ ละ ๓๙๐ บ. เป็นเงิน ๔,๖๘๐ บ. ๔.ค่าแผ่นพับโรคไข้เลือดออก จำนวน๕๐๐ชุดๆละ ๕บ.เป็นเงิน ๒,๕๐๐บ. 2. กิจกรรมควบคุมโรค 2.1 กิจกรรมย่อยควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกกรณีเกิดโรคในพื้นที่ด้วยทรายทีมีฟอส โลชั่น กันยุง และสเปร์ย
ไม่มีค่าใช้จ่าย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2565 14:00 น.