กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ประจำปี 2565 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ประจำปี 2565 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลดาวัลย์ เตาวะโต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากในปี 2565 ประเทศไทย มีผู้สูงอายุ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดและมากกว่าประชากรเด็ก คือมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปี พ.ศ.2565 นอกจากนี้การจัดอันดับของประเทศไทยในเอเชีย ที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุในปัจจุบันประเทศไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึง เพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆ สาเหตุมาจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายและโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากผู้ป่วยในกลุ่มอื่น นอกจากนี้การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ ในเวลาเดียวกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้แข็งแรงเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงและมีความสุข (ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข) และในตำบลท่าเรือมีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 590 คน(ที่มา: ข้อมูลจากกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือประจำปี 2565) เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรในตำบลท่าเรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.72 ซึ่งจากการประเมินหลังสิ้นปีงบประมาณที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นส่วนใหญ่พบว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงจากเดิม มีกำลังใจ มีสุขภาพจิตดี ความรุนแรงของโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่สามารถบรรเทาลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ค่อยเอาใจใส่และไม่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียดและอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย บางรายเก็บตัวเงียบอยู่กับตนเองไม่ค่อยพบปะสังสรรค์กับใครแม้กระทั่งกับลูกหลานของตนเอง เพราะคิดว่าคนในครอบครัวไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของตน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเครียดและอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายตามไปด้วย
    ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุโดยตรงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือหรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนในกลุ่มวัยเดียวกันสามารถระบายความรู้สึกหรือพูดคุยความต้องการที่แท้จริงของตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลาย มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งนำไปสู่สุขภาพกายที่ดีขึ้นและพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนเข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ประจำปี 2565 โดยตามโครงการจะประกอบด้วยกิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกาย กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่เข้มแข็งสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุหรือสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอย่างมีพลังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย ร้อยละ 65

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ร้อยละ 65

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุในกลุ่มเดียวกันจนสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุในกลุ่มเดียวกันจนสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ  ร้อยละ 65

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

4.1ประชุมคณะกรรมการ ศพ.อส.ตำบลท่าเรือ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 4.2เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ 4.3ประสานกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป) และผู้ที่จะเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ(59 ปี) ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ ประสานวิทยากร และจัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ
4.4 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 1 วัน/ 4 ชั่วโมง ดังนี้
  4.4.1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโดยการบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ” จำนวน 1 ชั่วโมง แยกเป็น     - อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ     - การออกกำลังกายที่ถูกต้องสำหรับคนสูงวัย     - สาธิต/ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ(เฉพาะท่าที่สำคัญ)   4.4.2 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโดยการบรรยายเรื่อง “สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ” จำนวน 1 ชั่วโมง แยกเป็น     - การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด     - นันทนาการละลายความเครียด     - การอยู่ร่วมกันกับลูกหลานให้เป็นสุข
  4.4.3 กิจกรรมการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เรื่อง “พฤฒิพลัง..สูงวัยอย่างมีพลัง” จำนวน 1 ชั่วโมง แยกเป็น - พลังด้านบวกมีผลต่อสุขภาพอย่างไร     - การสร้างพลังด้านบวกแก่ผู้สูงวัย รวมถึงเทคนิควิธีการและฝึกปฏิบัติให้มีพลังด้านบวก - การใช้ดนตรีบำบัดสุขภาพ สร้างพลังด้านบวก

/4.4.5…

-3-

  4.4.4 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโดยการบรรยายเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” จำนวน 1 ชั่วโมง/วัน     - สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ “สุขภาพดี มีเงินออม เตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย เตรียมกายใจสู่วัยสูงอายุ”     - สวัสดิการต่างๆ ที่ผู้สูงอายุยุค 4.0 ต้องรู้
    - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
5. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการและประเมินผลโครงการโดยใช้แบบสอบถาม 6.ติดตามผลการปฏิบัติงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย 9.2 ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 9.3 ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุในกลุ่มวัยเดียวกันและสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2565 16:09 น.