กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการสุขภาพดีชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2565 ศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสีตี เตาวะโต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีญาติหรือผู้ดูแล และคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
ในเขตความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ จำนวนหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน จำนวนประชากรทั้งหมด 5,141 คน มีจำนวนผู้พิการทั้งหมด 260 คน แยกตามประเภทความพิการ ได้ดังนี้ พิการทางการมองเห็น 7 ราย พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย 29 ราย พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม 4 ราย พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย 173 ราย พิการทางสติปัญญา 40 ราย พิการทางการเรียนรู้ 5 ราย พิการทางออทิสติก 1 ราย และพิการซ้ำซ้อน 1 ราย (ที่มาข้อมูล : ผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพความพิการ ประจำปีงบประมาณ 2565 กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ) มีอาสาสมัครดูแลผู้พิการ (อพมก.) ในพื้นที่ จำนวน 12 คน มีหน้าที่ สำรวจติดตามสภาพปัญหาคนพิการ จากการลงพื้นที่ทำให้ทราบว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปรวมทั้งคนพิการที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ขาดผู้ดูแลในครอบครัวและในชุมชน เพราะผู้คนต่างดิ้นรนออกไปหากินนอกบ้านจึงเป็นภาวะต่อครอบครัวที่ต้องดูแลด้านต่างๆให้กับคนพิการ ปัญหาสุขภาพถือเป็นปัญหาสำคัญของครอบครัว เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างยั่งยืน ได้แก่การเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะอาหาร ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทำให้คนพิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางด้านการแพทย์ ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ส่งผลต่อสภาพจิตใจรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล นอกจากนั้นการปฏิบัติช่วยเหลือฟื้นฟูตัวเองของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากผู้พิการขาดผู้ดูแลที่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือ ได้ตระหนักว่า การส่งเสริมให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง สิทธิที่พึงได้รับด้านสุขภาพสำหรับผู้พิการ การออกกำลังกาย การฝึกกายภาพบำบัด และวิธีการนวดผ่อนคลายที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนเพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนพิการอีกแนวทางหนึ่ง ที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการสุขภาพดีชีวีมีสุขในพื้นที่ตำบลท่าเรือขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ 2.เสนอโครงการต่อประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน สปสช.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 3. ประสานวิทยากร , อาสาสมัครดูแลผู้พิการ (อพมก.) ผู้พิการ/ญาติผู้ดูแลคนพิการ เข้าร่วมกิจกรรม

  1. ดำเนินการตามโครงการ แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมดังนี้

  4.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (3 ชั่วโมง) หัวข้อ “การดูแลสุขภาพผู้พิการเบื้องต้น” จำนวน 1 ชั่วโมง
  -การดูแลสุขภาพด้านร่างกาย   -การดูแลสุขภาพด้านจิตใจ หัวข้อ “สิทธิที่พึงได้รับด้านสุขภาพสำหรับผู้พิการ” จำนวน 1 ชั่วโมง   -ทำอย่างไรจึงจะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ   -คนพิการประเภทใดบ้าง ที่มีสิทธิได้รับหลักประกันสุขภาพคนพิการ                                                         /คนพิการ... -3-

  -คนพิการประเภทใดบ้าง ที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ   -เมื่อเจ็บป่วยและใช้สิทธิของคนพิการ จะต้องทำอย่างไร   -การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์สำหรับผู้พิการ
หัวข้อ “พิการทำอย่างไรให้สุขภาพดีชีวีมีสุข” จำนวน 30 นาที หัวข้อ “ความรู้พื้นฐานในการออกกำลังกายที่ควรรู้” จำนวน 30 นาที   4.2 กิจกรรมบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ (3 ชั่วโมง) หัวข้อ “การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าตามประเภทความพิการ” จำนวน 1 ชั่วโมง หัวข้อ “การฝึกกายภาพบำบัดตามประเภทความพิการ” จำนวน 1 ชั่วโมง 30 นาที
หัวข้อ “วิธีการนวดเพื่อผ่อนคลาย” จำนวน 30 นาที   4.3 รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการมีความรู้เกี่ยวกับ “การดูแลสุขภาพเบื้องต้น”   9.2 ผู้พิการและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับ “สิทธิที่พึงได้รับด้านสุขภาพสำหรับผู้พิการ”   9.3 ผู้พิการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง   9.4 ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำกิจกรรมร่วมกัน   9.5 ผู้พิการมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันอย่างง่ายได้       และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 10:11 น.