กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็ก ๐-๕ ปี ฟันสวย ยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดาวัลย์ อบทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รอยยิ้มที่สดใสของเด็กบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีและรอยยิ้มที่สดใสจำเป็นต้องมีฟันสีขาวสะอาดไม่ผุเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพฟันดีต้องเริ่มจากฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าฟันแท้ โดยทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อส่งต่อไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำหน้าที่ย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์และเป็นตัวกระตุ้นให้ขากรรไกรมีการเจริญเติบโต      มีขนาดกว้างเพียงพอให้ฟันแท้ที่มีขนาดโตกว่าฟันน้ำนมสามารถขึ้นได้ และฟันน้ำนมแต่ละซี่เปรียบเสมือน      เสาหลักที่จองไว้ให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรง ไม่ซ้อนเก ทั้งยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดได้ชัดเจน และเพิ่มความสวยงามให้แก่ใบหน้าของเด็กอีกด้วย
จากการสำรวจข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ตามรายงาน HDC จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ พบว่า ในกลุ่มอายุ ๓ ปี ฟันผุในฟันน้ำนมร้อยละ ๖๐.๐๐ และอัตราการเกิดฟันผุในฟันแท้ กลุ่มอายุ ๖ ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ ๑๘.๙๕ , กลุ่มอายุ ๙ ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ ๓๘.๘๙ และเด็กอายุ ๑๒ ปี มีฟันแท้ผุ ๔๕.๔๕ จากที่กล่าวมาเล็งเห็นว่าเด็กยังมีฟันผุ สาเหตุของการเกิดโรคในช่องปาก มักเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง อาหารการกิน นมที่เด็กดื่มจะเป็นรสหวาน การที่เด็กดื่มนมจากขวดแล้วเด็กก็มักจะหลับคาขวดนม และในช่วงการหลับนั้นการไหลเวียนของน้ำลายน้อยลงส่งเสริมให้เกิดฟันผุได้ง่ายขึ้นเช่นกัน การแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ช่องปากและการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานตนเอง ซึ่งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ โดยต้องมีการตรวจคัดกรองฟันผุตั้งแต่เริ่มแรก และการฝึกทักษะผู้ปกครอง พี่เลี้ยงเด็ก ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทั้งเรื่องการสังเกตรอยผุที่อาจเกิดขึ้นกับ บุตรหลาน การแปรงฟันที่ถูกวิธี การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากและการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่ถูกวิธี จะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ และรูปแบบการจัดกิจกรรม   ๑.๒ เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อ ขออนุมัติงบประมาณ   ๒. ขั้นดำเนินงาน ๒.๑ ประชาสัมพันธ์โครงการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข และคัดเลือกผู้ปกครองเด็กอายุ
๐-๕ ปี ในชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ
๒.๒ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการอบรม ๒.๓ จัดอบรมความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ๐ - ๕ ปี ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ๒.๓.๑ โรคในช่องปากและการรักษาที่ถูกวิธี ๒.๓.๒ อาหารกับฟันผุ ๒.๓.๓ การทำความสะอาดช่องปากเด็ก ๒.๓.๔ การใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ๒.๓.๕ วิธีการตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก ๐-๕ ปี
๒.๔ ทำแบบประเมินความรู้ด้านทันตสุขภาพก่อน – หลัง การอบรม     ๓. ขั้นติดตามและประเมินผล
๓.๑ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้ารับการอบรม ฯ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลสุขภาพ ช่องปาก ๒. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถตรวจสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง ๓. เด็กอายุ ๐ - ๕ ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์ปีละ ๒ ครั้ง ร้อยละ ๘๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 10:20 น.