กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2565 - 30 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดาวัลย์ อบทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล โรคไตวายเรื้อรัง ในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็น โรคไต มักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมากแล้ว หรือเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage renal disease: ESRD) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 3 ขึ้นไป มีประมาณ ร้อยละ ๒.๙ – ๑๓ จากประชากรทั้งประเทศประมาณ ๗๐ล้านคน หรืออยู่ในช่วง ๒ ล้าน ถึง ๙ ล้านกว่าคน สาเหตุของการเกิดโรคไตเรื้อรัง เกิดจากโรคเบาหวานร้อยละ ๓๖.๓ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๒๓.๓ ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น ร้อยละ ๔.๗๙ และโรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ ร้อยละ ๒.๔๓ และมีเพียงผู้ป่วยร้อย ละ ๑.๙ เท่านั้นที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
จากข้อมูลสถานะสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ปี ๒๕๖๕ มีผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งหมด ๑๐๗ ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๑๘๒ ราย ในจำนวนนี้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๙๖ ราย ภาวะแทรกซ้อนทางไต stage ๒ – ๕ จำนวน ๖๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๖ ของผู้ป่วยทั้งหมด หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อภาระค่า รักษาพยาบาล ทั้งส่วนของภาครัฐ ผู้ป่วย และครอบครัวได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง ค้นหาตั้งแต่ ระยะเริ่มต้น จะทำให้สามารถให้การดูแลรักษาควบคุมปัจจัยเสี่ยงชะลอการดำเนินโรค เพื่อป้องกันความรุนแรง ลดภาระของระบบบริการ ค่าใช้จ่าย และการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ จึงจัดทำโครงการชะลอไต เสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีเป้าหมายให้ ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การ รับประทานโซเดียมและโปรตีนให้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาศักยภาพ ตนเอง การดูแลสุขภาพ

ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาศักยภาพ ตนเอง การดูแลสุขภาพ  ร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และตระหนักถึงการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และตระหนักถึงการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไต  ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ระยะของไต stage ๒-๕ ในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ๑.๒ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกิจกรรมโครงการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ๒. ขั้นดำเนินงาน
๒.๑ อบรมบรรยายในหัวข้อ ดังนี้ ๒.๑.๑ โรคความดันโลหิตสูง - อาการของโรคความดันโลหิตสูง - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง - ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
๒.๑.๒ โรคเบาหวาน - อาการของโรคเบาหวาน - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน - ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ๒.๑.๓ โรคไตวายเรื้อรัง - อาการของโรคไตวายเรื้อรัง - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง ๒.๒ ประชาสัมพันธ์โรคไตวายเรื้อรังในชุมชน ๒.๓ เยี่ยมบ้านให้กำลังใจผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะ ๔-๕ ๓. ขั้นติดตามและประเมินผล
๓.๑ สรุปและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ป่วย มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๒. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
๓. มีแนวทางพัฒนางานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 10:28 น.