กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5303-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ 1 ต.เจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ 1 ต.เจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 10,250.00
รวมงบประมาณ 10,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขมาโดยตลอด เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลเจ๊ะบิลังเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ       ดังนั้น ชมรมอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะบิลัง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ“โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. มีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2 2. ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้โรคไข้เลือดออก
  1. ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้  อย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี และร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
3 3. ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  1. ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่เกิน ร้อยละ ๑๐
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 10,250.00 1 10,250.00
14 ก.ย. 65 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เน้นหนักเรื่องการควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งทางกายภาพ ชีวภาพและเคมี 80 10,250.00 10,250.00
14 ก.ย. 65 2. กิจกรรมสร้างทีมผู้นำสุขภาพในชุมชน 0 0.00 -
14 ก.ย. 65 3. กิจกรรมรณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน ผู้นักเรียน และทีม SRRT 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก มีภาคส่วนจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน       2. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีทัศนคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองโรค       3. ประชาชนเกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 12:11 น.