กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5303-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ 1 ต.เจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ 1 ต.เจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 14,850.00
รวมงบประมาณ 14,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 164 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2563 -2564 ที่มีการติดเชื่อในประเทศ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 59 ราย ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ เป็นต้น ประกอบช่วงระบาดของโรค COVID-19 ทางรัฐบาลใช้มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ประชาชนมีพฤติกรรมอยู่ที่บ้าน ทำให้มีการออกกำลังกายน้อยลง รับประทานอาหารมากขึ้น จึงเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม และที่สำคัญหากปล่อยให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้รับเชื้อ COVID-19 จะมีโอกาสเสียชีวิตสูง สถานการณ์ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ปีงบประมาณ 2563 และ 2564 พบผู้ป่วย จำนวน 30 คน และ 25 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน  8 คน และ 10 คน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น จากผลการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และการคัดกรองเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง หมู่ที่ 1 และ 5 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ 2564 (ที่มา HDC สตูล 30 กันยายน 64 ) พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง (ค่าควานดันโลหิต sbp >= 130 ถึง < 140 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 85 ถึง < 90 mmHg) จำนวน 40 คน และกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ค่าควานดันโลหิต sbp มีค่า >= 140 ถึง < 180 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 90 ถึง < 110 mmHg) จำนวน 24 คน และพบกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยหากได้รับการให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 256๕ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง สามารถลดระดับความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  • ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg.
  • ร้อยละ 60 กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน สามารถลดค่าน้ำตาลในเลือดได้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 188 14,850.00 6 14,850.00
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 4. กิจกรรมที่ 4 กลุ่มสงสัยป่วยวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน รายวัน เช้า-เย็น 7 วันติดต่อกัน 24 0.00 0.00
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 5.กิจกรรมที่ 5 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาล ทุก 2 เดือ 50 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 65 6.กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 0.00
8 ก.ย. 65 1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง และประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ 0 450.00 450.00
12 ก.ย. 65 2. กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 64 7,900.00 7,900.00
13 ก.ย. 65 3. กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 50 6,500.00 6,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2565 12:14 น.