กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ด้วยพลังเครือข่ายสุขภาพ ปี 2565
รหัสโครงการ L2502-65-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา (บ้านกาหนั๊วะ)
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 93,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา (บ้านกาหนั๊วะ)
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 550 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการ มีอายุที่มากขึ้น คือ ๓๕ ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็น ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา(บ้านกาหนั๊วะ)  พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน ๔๓๔ ราย และกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็น    โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๒๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๙ และ ๓๔.๔ ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชากร อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 33 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 401 คน และป่วยด้วยโรคเบาหวานและความโลหิตสูงร่วมด้วย จำนวน 142 คน ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมากและเป็นปัญหาสำคัญในขณะนี้ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา(บ้านกาหนั๊วะ) จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังด้วยพลังเครือข่ายสุขภาพปี ๒๕๖5 ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคและผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้าและสุขภาพในช่องปาก ตามมาตรฐาน

ร้อยละ ๕๐ ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
2 เพื่อค้นหา ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนและการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมายได้รับคัดกรองความดันโลหิต เบาหวาน ร้อยละ ๙๕

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้การบริโภค และพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง สามารถควบคุมความเสี่ยงได้

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ ๑๐๐

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนผู้เสี่ยงสูงได้รับความรู้ การออกกำลังกาย และทักษะในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพในชุมชน

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ตามมาตรฐาน - ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ ๖๐ - ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ ๗๐ - ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ ๙๐
- ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สูบบุหรี่ต้องเข้าถึงคลินิกเลิกบุหรี่ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) ขั้นที่ ๑ ตอนก่อนการดำเนินการ ๑.ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒.แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๓.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกคัดกรอง HT/DM หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงของประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป ๔.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ๕.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯผ่านภาคีเครือข่าย ๖.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ๑.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความ ๒.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ ๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
๔.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ๕.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ๖.ดำเนินการติดต่อวิทยากร ในการจัดอบรมกิจกรรมอาหารที่เหมาะสม ในกลุ่มเสี่ยง METABOLIC ๗.กิจกรรมมหกรรมการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังนี้
- ให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต - ตรวจเลือดประจำปีโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง - ผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน
- คัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ตา เท้า สุขภาพในช่องปาก - คัดกรองภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยการ EKG ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีอายุ > ๖๕ ปีขึ้นไป - ประเมินภาวะซึมเศร้า ( ๒ Q ) - คัดกรองบุหรี่และส่งเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ ๘.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ ๙.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรอง ภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำและลงทะเบียน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ขั้นที่ ๓ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑.ประเมินผล สรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หลังเข้าร่วมโครงการ ๖ เดือน บันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS
๒.รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค Metabolic ๒.ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม ๓.ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค Metabolic ๔.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายแข็งแรงจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ในที่สุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 10:24 น.