กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเคาะประตู ชูวัคซีน ปี 2565
รหัสโครงการ L2502-65-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา (บ้านกาหนั๊วะ)
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด โดยผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขตามปกติ และพัฒนาเร่งรัด การดำเนินงานด้วยวิธีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการกระจายวัคซีนและบริหารจัดการแก่ผู้มารับวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรคโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำและประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐานเทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่นฉีดลึก หรือตื้นเกินไป ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ขาดการติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายมีการย้ายที่อยู่อาศัย หรือไปรับบริการจากสถานบริการอื่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่อาศัยในพื้นที่ มีความใกล้ชิด และทราบข้อมูลการเข้าถึงรับบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย อสม.จึงมีส่วนสำคัญในการกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารในชุมชนได้เป็นอย่างดี มาตรการเชิงรุกที่สำคัญ คือ การให้ อสม.ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ติดตามการรับวัคซีนตามนัด พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำแนะนำในการรับวัคซีนป้องกันการเกิดโรค อีกทั้งเก็บข้อมูลความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนจากสถานบริการอื่นเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบความครอบคลุมวัคซีนป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา(บ้านกาหนั๊วะ) เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการเคาะประตู ชูวัคซีน ปี 2565 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ อสม. มีการติดตามเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ปกครอง  มีความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และกระตุ้นให้ผู้ปกครองพาเด็ก 0-5ปี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก และเพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีนให้น้อยลงในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเร่งรัดให้เด็กอายุ ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

เด็ก ๐-๕ ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ มากกว่า ๙๐

0.00
2 เพื่อให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วัคซีนเพิ่มขึ้น

บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วัคซีนเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายมีส่วนร่วม ในการติดตามวัคซีนในชุมชน

มีเครือข่ายการติดตามวัคซีนในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) ขั้นที่ ๑ ตอนก่อนการดำเนินงานตามโครงการ ๑.ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒.แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ๓.สำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพของเด็ก 0-5 ปี
๔.ตรวจคัดกรองเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และติดตามเยี่ยมเชิงรุกในเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ๕.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการ ๖.จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ๑.จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน “เจาะประเด็น วิเคราะห์ปัญหา” - เวทีประชาคมพร้อมวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ๒.จัดกิจกรรม “เวทีเครือข่าย เวทีวัคซีน”โดยการนำเสนอข้อมูลทุกครั้งที่มีการจัดประชุมเครือข่าย
๓.จัดกิจกรรม “วัคซีน หนึ่งในใจผู้นำ” - สร้างกลุ่มไลน์ เพื่ออัพเดตข้อมูลวัคซีน - เปิดช่องทางติดต่อต่างๆเพื่อติดตามวัคซีนกับผู้นำในชุมชน
๔.จัดกิจกรรม บือรีตอ วัคซีน - ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้าน เพื่อสร้างกระแส และกระตุ้นประชาชน
๕.จัดกิจกรรม “อีหม่านห่วงใย คุตเบาะวัคซีน”ทำความเข้าใจวัคซีนกับศาสนา
๖.จัดกิจกรรมให้ความรู้ “บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ”
๗.จัดกิจกรรม “พาหมอเคาะประตู”ติดตามเชิงรุกบ้านต่อบ้าน ๗.จัดกิจกรรม “หมอจอมตื้อ ตื้อหนักเพราะรักจริง”
- ติดตามในกรณีที่ไม่ยินยอมรับบริการวัคซีน(ปฎิเสธวัคซีน) ๘.จัดกิจกรรม “อสม.เฉียวชาญวัคซีน” อบรมเชิงปฎิบัติการสร้างความเข้าใจในการป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน ๙.จัดกิจกรรม “อสม.โชเฟอร์ฉุกเฉิน”
- ให้บริการกรณีผู้มารับบริการลำบากในการเดินทางมารับบริการ ๑๐.จัดกิจกรรม “ครูอาสา กรองวัคซีน ส่งต่อหมออนามัย”
- เก็บข้อมูลวัคซีนในหมู่บ้านและโรงเรียนตอนเปิดเทอม ๑๑.จัดกิจกรรมมอบเกียรติบัตรแก่เด็ก 0-5 ปี ที่รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพื่อเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0–5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ
2.บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนเพิ่มขึ้น 3.เครือข่ายมีส่วนร่วมในการติดตามวัคซีนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 11:12 น.