กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2565
รหัสโครงการ L2502-65-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา (บ้านกาหนัํวะ)
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 36,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 198 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย พบว่า ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งมาจากการใช้และบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่นการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐาน และการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัย เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายในบ้านเรือนและ วัตถุเสพติด เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือบริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและที่ร้ายแรงอาจนำมาถึงขั้นเสียชีวิต เช่นอาหารปนเปื้อนสารห้ามใช้หรือมีจุลินทรีที่ทำให้เกิดโรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดหรือใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงจากการบริโภคยาที่ไม่มีทะเบียน ยาปลอม รวมถึงการบริโภคยาโดยไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ยังพบว่าร้านชำในชุมชนมีการจำหน่ายยาชุดยาอันตรายและยาลูกกลอนที่มีการนำสเตียรอยด์มาผสม เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นยาที่ดี รักษาโรคได้หายทันใจ ทำให้ประชาชนได้รับพิษจากเสตียรอยด์รวมถึงปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงในทางการค้าทำให้มีการโฆษณาในลักษณะที่โอ้อวดเกินความจริงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ผลที่ตามมาคือเกิดการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่นคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาดูแลต่อเนื่อง เมื่อหลงเชื่อโฆษณาหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแล้วละเลยวิธีการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการบริโภคทั้งสิ้น หากผู้บริโภคขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ปลอดภัยหรือขาดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลิซา ได้เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชนและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภค ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2565 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้มีความรู้ และมีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ประชาชนต้องบริโภคและใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ตัวชี้วัดความสำเร็จ

๑.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมร้อยละ 80 มีทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. ผู้จำหน่ายร้านชำมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ 3 ข้อ

0.00
2 พัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ

๑.มีทะเบียนชมรมสมาชิกเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ๒.มีแผนที่ชุมชน  ๓.มีแผนการ/โครงการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพใน สถานประกอบการ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครัวเรือนให้มีการจำหน่ายและใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน

๑.มีการตรวจสารปนเปื้อนอาหารอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ๒.ร้อยละร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ใน ศพด. ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมดำเนินงาน 1.สำรวจข้อมูลพื้นฐาน ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน โรงอาหารใน ศพด. ครัวเรือนและชุมชน
1.1 ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เช่น เครื่องสำอาง อาหาร ยา 1.2 จัดทำทะเบียนผู้ประกอบการ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ศพด. ครัวเรือนผู้ป่วยเรื้อรัง
1.3 จัดตั้งชมรมและคณะกรรมการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
1.4 สร้างเครือข่ายช่องทางสื่อสาร เช่น กลุ่มไลน์
๒.จัดเวทีประชาคม โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
2.1 คืนข้อมูลด้านเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและความปลอดภัย
2.3 จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
2.4 จัดทำแผนปฏิบัติงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ๒.๕ จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในชุมชน ๒.๖ เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ๓.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความปลอดภัย แก่เครือข่าย ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ในพื้นที่
3.1 สาธิตและฝึกปฏิบัติการทดสอบสารอันตรายในเครื่องสำอาง สารปนเปื้อนในอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ
3.2 สาธิตการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สินค้า 3.3 ฝึกตรวจ สารปนเปื้อนในอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ ๓.๔ สาธิตการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหารและแผงลอย จำหน่ายอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2 เฝ้าระวังผลิตสุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง อาหาร ยาที่ไม่ปลอดภัย ใน ครัวเรือน สถานประกอบการต่างๆ โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน
4.1 ตรวจผลิตภัณฑ์ร้านชำ มีการตรวจประเมินร้านชำ ปีละ 1 ครั้ง ๔.๒ ตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปีละ 1 ครั้ง 4.๓ เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตรวจสารปนเปื้อน 5 ชนิด ตรวจน้ำมันทอดซ้ำ
4.๔ ตรวจมาตรฐานและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔.๕ จัดอบรมให้ความรู้ ด้านสุขาภิบาลอาหารให้แก่ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารประเมินความรู้ก่อนการอบรม – ประเมินผลความรู้หลังการอบรม
- มอบเกียรติบัตร แก่ผู้ประกอบการ
- มอบป้าย ร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CleanFood Good Taste) ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๔.๖ เจ้าหน้าที่ ลงตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้พัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ๔.๘ ลงบันทึกผลการประเมิน /การตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 4.๙ รณรงค์เพื่อสร้างกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยประชาสัมพันธ์ในตลาดสดและในชุมชน ๕.ขั้นประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์สุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวบเกินจริง 3.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหาร การขายยาอันตรายในชุมชนและไม่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายด้านคุ้งครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 11:28 น.