กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ L1526-2-2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 61,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุชรี อ่อนยิ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของนักเรียน เริ่มจากการแก้ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยจากนักเรียนในโรงเรียน ได้แก่ โรคฟันผุเป็นหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อย มีปัจจัยร่วมหลาย ๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการรักษาสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะ แล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เช่น ผอม เตี้ย มีสาเหตุมาจากการที่นักเรียนไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่ามีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ และอีกหนึ่งปัญหาที่ถือว่ามีความสำคัญ  ต่อนักเรียน คือการตรวจกรุ๊ปเลือด พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ทราบกรุ๊ปเลือดของตนเอง ซึ่งอาจเกิดผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางโรงเรียนบ้านหนองปรือ จึงจัดโครงการหนูน้อยใส่ใจสุขภาพขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย โดยแก้ปัญหาที่พบบ่อยจากนักเรียนในโรงเรียน ได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหา
ภาวะทุพโภชนาการ และการตรวจหมู่เลือด ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ ได้เรียนรู้การป้องกันโรคและสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)     ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. เสนอโครงการขออนุมัติ 2. ดำเนินงานตามกิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมฟันสวยยิ้มใส - เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน ชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 104 คน เรื่อง ฟัน การดูแลรักษาช่องปากและฟัน วิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี   - จัดซื้ออุปกรณ์ในการแปรงฟัน       - นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน     2.2 กิจกรรมผมสวย ไร้เหา       - จัดซื้ออุปกรณ์กำจัดเหา       - กำจัดเหา 2 สัปดาห์/ครั้ง     2.3 กิจกรรมลดภาวะทุพโภชนาการ       - สำรวจนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม, เตี้ย) ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีนักเรียนผอม จำนวน 4 คน นักเรียนเตี้ย จำนวน 7 คน รวม 11 คน       - จัดหาอาหารเสริมสำหรับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการในตอนเช้า วันจันทร์ถึงวันศุกร์เป็นเวลา 60 วัน นักเรียนผอมรับประทานอาหารเสริม คือ ไข่ต้ม นมไมโล ขนม นักเรียนเตี้ยรับประทานอาหารเสริม คือ ไข่ต้ม นมจืด ขนม   3. ประเมินผลและสรุปโครงการ 1. กิจกรรมฟันสวยยิ้มใส - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง 600 x 6 = 3,600 บาท - ค่าอาหารว่าง 104 คน x 50 บาท = 5,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน104 คน x 55 บาท = 5,720 บาท - ค่าอุปกรณ์   - ยาสีฟัน 30 บาท x 104 คน = 3,120 บาท   - แปรงสีฟัน 30 บาท x 104 คน = 3,120 บาท   - แก้วสแตนเลส 60 บาท x 104 คน = 6,240 บาท   - ผ้าเช็ดหน้า 30 บาท x 104 คน = 3,120 บาท รวมเป็นเงิน  30,120  บาท - ผ้าขนหนู 30 บาท x 40 คน = 1,200 บาท - หวีกำจัดเหาไฟฟ้า 400 บาท x 7 เครื่อง = 2,800 บาท - หมวกอาบน้ำ 10 บาท x 40 คน = 400 บาท รวมเป็นเงิน  9,200  บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
  2. นักเรียนแปรงฟันได้ถูกวิธีและมีปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบลดลง
  3. นักเรียนมีปัญหาโรคเหาลดลง
  4. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีจำนวนลดลง และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักและส่วนสูงตามมาตรฐานของกรมอนามัยเพิ่มขึ้น
  5. กิจกรรมผมสวยไร้เหา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 10:03 น.