กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลท่าจำปี
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าจำปี อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าจำปี สังกัดทศบาลตำบลท่าจำปี เป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมเลี้ยงดู จัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ให้เด็กเล็กมีความพร้อม ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา ปัจจุบันมีเด็กเล็กทั้งหมดจำนวน 30 คน ครู/พี่เลี้ยงเด็ก จำนวน 3 คน เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต โภชนาการและสุขภาพอนามัย เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการดำเนินงานเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรคที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เพื่อลดอาการเจ็บป่วยของเด็กเล็กได้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลาย
ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเล็กได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่างกายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้งการเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ
2. การจัดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรได้รับการเพื่อปลูกฝังให้เด็กมี
มีพฤติกรรม สนใจการปฏิบัติ การดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้ และชอบรับประทานผัก จาการได้ลงมือปฏิบัติ รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเองเริ่มจากการปลูก การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต การประกอบอาหาร ฯลฯเป็นต้น การส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพเด็กปฐมวัย การดำเนินงานเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคติดต่อใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสามารถในการดูแลเด็กเล็กร่วมกัน การส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัย การตรวจสุขภาพทางช่องปาก การประเมินพัฒนาการและการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ตามช่วงอายุ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 170 21,880.00 3 11,480.00
15 มี.ค. 65 - 2 พ.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 40 7,600.00 -
15 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังการควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 40 4,000.00 4,000.00
2 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากและการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 30 2,800.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 30 6,300.00 6,300.00
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 1,180.00 1,180.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครู ผู้ปกครอง และ คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักโภชนาการการดูแลสุขภาพอนามัยสำหรับเด็กปฐมวัย และการดำเนินงานเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. เด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพทางช่องปาก การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) ตามช่วงอายุ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    3.เด็กเล็กมีพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์ – จิตใจสังคมและสติปัญญา เหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 13:01 น.