กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 7,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิต กล้าหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต สมอง และหลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข (ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ) ณ. วันที่ 10 มกราคม 2565 จำนวนและอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน ปี 2559-2562 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสุขภาพ และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) จังหวัดนราธิวาส ปี 2559-2562 จำนวน/อัตราตายด้วยโรคเบาหวาน 200/25.43 , 183/23.11 , 200/25.06 , 216/26.87 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
จากการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ (งาน NCD) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ที่ผ่านมา ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกิจกรรมการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานปีละ 1 ครั้ง ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน การทำกิจกรรมกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา ( ข้อมูลจาก HDC) ณ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่าปี 2561-2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 295 คน , 309 คน , 300 คน และจากสถิติ (ข้อมูลทะเบียนคนตาย รพ.สต.พร่อน) ณ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่าปี 2561-2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตายด้วยภาวะแทรกซ้อน 5 คน , 9 คน , 7 คน และเสียชีวิตในวัยอันควร เกิดเป็นปัญหาต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
  ดังนั้นจากปัญหาโรคเบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่

2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด   และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

3 ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

5 ส.ค. 65 - 29 ก.ย. 65 กิจกรรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมกลุ่ม 0.00 7,570.00 -
5 ส.ค. 65 - 29 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้และทำกิจกรรมกลุ่มแยกประเภทความรุนแรงของโรคเบาหวาน (จำนวน 4 ครั้ง) 30.00 7,570.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ป่วยโรค เบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ 2) ผู้ป่วยโรค เบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่
3) ไม่มีภาวะแทรก ซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 14:33 น.